
ข้อมูลชุมชนบ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย
มีแยกเป็นหย่อมชุมชน จำนวน 4 ชุมชน
ประกอบด้วย
บ้านห้วยหินลาดใน/บ้านห้วยหินลาดนอก/บ้านห้วยผาเยือง
และบ้านห้วยทรายขาว
บ้านห้วยหินลาดใน
ประวัติความเป็นมา
บ้านห้วยหินลาดใน เรียกตามลักษณะของลำห้วยที่เป็นหินลาดลงตามห้วย เป็นชน เผ่าปกาเก่อญอ ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่แน่นอนว่าได้เข้ามาก่อตั้งขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่จากการสอบถามผู้อาวุโสที่สุดในหมู่บ้าน ทราบว่าหมู่บ้านห้วยหินลาดในมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี มาแล้ว จากหลักฐานเอกสารบางตัวที่มีอยู่และตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา คือ จากที่การหมดอายุแล้วของผู้นำหมู่บ้าน(ฮี่โข่)มาแล้ว จำนวน 2 คน จากตามคำบอกเล่าไว้ว่าบรรพบุรุษผู้เข้ามาก่อตั้งชุมชนในยุคครั้งแรก คือ นายสุกา ปะปะ ซึ่งพื้นฐานเดิมอยู่ใน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งยังหนุ่มได้เดินทางมาที่บ้านป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้พบรักกับหญิงสาวชื่อนาง นอคือ สาวปกาเกอญอ ด้วยกันจนกระทั้งได้แต่งงานมีบุตรด้วยกันจึงได้พาครอบครัวและญาติพี่น้องในจำนวน 3 ครอบครัว เดินทางเข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่ขุนน้ำแม่ฉางข้าว หรือบ้านห้วยทรายขาวปัจจุบัน ในราวปี พ.ศ. 2432 อ.เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ได้มีการสืบทอดลูกหลานสร้างครอบครัวเพิ่มขึ้นและในเมื่อปี พ.ศ.2463 ทางการในเขตอำเภอเวียงป่าเป้ามีการเข้ามาจัดเก็บภาษีการทำไร่ ภาษีสัตว์เลี้ยง โค กระบือทางชาวบ้านได้มีการเสียภาษีและเก็บเอกสารใบเสร็จไว้ จนมาเมื่อปี พ.ศ.2470 จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นประมาณถึงประมาณ 30 ครัวเรือน ทำให้ที่ทำกินในเขตละแวดนั้นไม่เพียงพอ ชาวบ้านจึงได้มีการแยกย้ายครอบครัวออกไปหาที่ทำกินใหม่ที่เป็นที่ราบสำหรับทำนาบ้าง เช่น บ้านแม่ปูนน้อย บ้านห้วยไร่ ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย บ้านออน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ส่วนที่เหลือก็จะอาศัยหมุนเวียนทำมาหากินตามเทือกเขาที่ไม่ห่างจากที่เดิมมากนัก โดยย้ายจากบ้านแม่ฉางข้าว (ห้วยทรายขาว)
ผู้เฒ่าเล่าว่าบ้านแม่ฉางข้าว เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของคนรุ่นหนึ่งแล้ว ในบริเวณนั้นจะมีผีดุ ชาวบ้านกลัวผีจึงข้ามสันเขามาอยู่ที่ ชี่ส่าวี(ต้นน้ำห้วยหินลาด) มีความหมาย เป็นพื้นที่ไร่เหล่าเผาไม่ค่อยไหม้ปลูกพืชไม่ค่อยออกดอกผล และสัตว์ป่ารบกวนไร่พืชผลที่ปลูกไว้ อยู่ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งก็ย้ายไปตั้งฐานอยู่กลางน้ำห้วยหินลาด คือห่อผี่ถ่า มีความหมายว่า สบห้วยต้นหอเจ้าที่ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ทำนาของชาวบ้านห้วยหินลาดใน อยู่ในนั้นใช้เวลายาวนานประมาณกว่า10 ปีจนเป็นที่รู้จักกับคนภายนอกและชาวบ้านเริ่มได้รับสิทธิ์มากขึ้นเช่น มีการให้เหรียญที่ระลึกสำหรับชาวขาว แต่ในขณะนั้นเกิดมีการระบาดของโรคร้ายผู้คนล้มตายหลายรายและมีโจรเข้ามา เมื่อปี พ.ศ.2486 จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ ทีโก๊ละลอซิ ตามชื่อเรียกชาว ปกาเกอญอ มีความหมายว่า ลำน้ำห้วยแห้ง อยู่ได้ประมาณ 5 ปี จึงพากันย้ายหมู่บ้าน เพราะสาเหตุมีน้ำไม่เพียงพอ จึงได้เคลื่อนย้ายหมู่บ้านข้ามสันดอยซึ่งไม่ไกลจากเดิมมาก เมื่อปี พ.ศ.2490 ได้โยกย้ายไปอยู่ที่ฝายผี ชาวปกาเกอญอ เรียกว่า มือคาตอที มีความหมายว่า ฝายกั้นน้ำที่เกิดจากธรรมชาติกั้นไว้ (ปัจจุบันเป็นที่ทำนาของชาวบ้านห้วยหินลาดใน) อีกในจำนวน 2 ครอบครัว ได้อพยพไปอยู่ที่บ้านห้วยหม้อ(ปัจจุบันเป็นที่ทำกินของชาวบ้านห้วยหินลาดนอก) อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จำนวนส่วนใหญ่ที่มาตั้งอยู่บ้านฝายผีได้เพียง 1 ปี ชาวบ้านก็จำเป็นที่ต้องย้ายหมู่บ้าน เพราะเชื่อว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่พักพิงของพวกผีศาล ผีดุ ผีแรง ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ประกอบกับในที่แห่งนี้เป็นทางผ่านของคาราวานผู้ค้าฝิ่นและมีเจ้าหน้าที่มาตั้งฐานด่านปราบสู้ ชาวบ้านยิ่งเกรงกลัวกับการต่อสู้กัน จึงได้โยกย้ายไปอยู่ที่ เก่อลีแฮ มีความหมายว่าห้วยลมแรงสังเกตเป็นพื้นที่ที่มีลมพัดแรงทั้งกลางวันและกลางคืนทำให้บ้านเรือนที่ก่อสร้างอยู่ได้ไม่คงทนและเสียหายบ่อยทั้งประกอบกับการทำไร่ข้าวได้ผลไม่เพียงพอ
เมื่อปี พ.ศ.2495 โยกย้ายหมู่บ้านมาข้ามสันดอยอยู่บริเวณ เซวาเด่ มีความหมายที่เป็นพื้นที่ป่าไม้ก่อลำขาว บนเนินเขาค่อนข้างจะห่างไกลจากแหล่งน้ำและเป็นที่ลาดชันลำบาก
เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2500 ได้เคลื่อนย้ายกลับมาอยู่บ้านห้วยหินลาด (บ้านเก่า) ในช่วงนั้นได้มีการคบค้าสัมพันธ์กับภายนอกมากขึ้นและมีการทำสวนชาค้าขายกับพ่อค้าพื้นราบในอำเภอ พร้าว อยู่ได้ประมาณ 3 ปี เกิดมีผู้นำสุกา ปะปะ ได้เสียชีวิตลงด้วยวัยชราในอายุประมาณ 102 ปี ต่อจากนั้นชาวบ้านอยู่อย่างไม่เป็นสุขและเกิดการมีโรคระบาดจึงได้โยกย้ายจากที่นี้
เมื่อช่วงปี พ.ศ.2503 ได้ย้ายมาข้ามดอยอยู่ที่ โชซูโกล๊ะ 1 และ 2 มีความหมายว่า เป็นพื้นที่มีป่าไม้สนดำต้นขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย และมีสัตว์ป่าใหญ่ เช่น แรด กวาง ชอบอาศัยอยู่บริเวณนั้น โดยมีนาย ทาดูปะปะ เป็นผู้นำชุมชน สืบทอดโดยทายาทตามความเชื่อและวงศ์ตระกูลอยู่ได้ในช่วงหนึ่งก็ได้เลื่อนไปด้านบนอีกซึ่งไม่ห่างกันมาก ซึ่งบ้านที่ตั้งอยู่ในแห่งนี้ทั้งสองที่จะต้องไปตักน้ำมาไกลและลำบากเป็นบางครั้ง จึงได้มีการไปถามดูการจัดตั้งหมู่บ้านแห่งใหม่จากเจ้าพ่อ จึงได้รับการแนะนำจุดที่จัดตั้งหมู่บ้านที่มั่งคง(ปัจจุบัน คือบ้านห้วยหินลาดใน)เป็นที่เหนือบนน้ำตกที่บริเวณนั้นเป็นหน้าด่านประตูผา อยู่ที่นี้แล้วจะอยู่เย็นเป็นสุข
เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 ได้ย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยหินลาดใน ณ ที่ปัจจุบัน ได้ขึ้นกับหมู่ที่2 ตำบล บ้านโป่ง โดยมี นาย ทาดู ปะปะ เป็นผู้นำชุมชนและศาสนา
เมื่อปี พ.ศ. 2511-2512 มีการแยกครอบครัว บางส่วนไปอยู่ห้วยหินลาดนอก เพราะมีพื้นที่ราบสะดวกในการทำนา บางส่วนก็ตามไปอยู่กับพี่น้องบ้านท่าขี้เหล็ก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพราะไปหาที่สะดวกในการทำนา
เมื่อปี พ.ศ.2520 ได้รับสิทธิและสัญชาติเป็นสัญชาติไทยอย่างสมบูรณ์ โดยขึ้นกับหมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
เมื่อปี พ.ศ.2523 นาย ทาดู ปะปะ ได้เสียชีวิตลง อยู่ได้ช่วงระยะหนึ่งมีนาย นุ ปะปะ ซึ่งเป็นลูกชายคนพี่ได้ขึ้นมาสืบทอดตามมรดกวัฒนธรรมการเป็นผู้นำทางศาสนาต่อจากพ่อ จนมาถึงปัจจุบัน
เมื่อปี พ.ศ.2543 ได้มีการรวมหมู่บ้าน ห้วยหินลาดนอก, ห้วยหินลาดใน, ผาเยือง, ห้วยทรายขาว(ลาหู่) ทั้ง 4 หย่อมบ้าน ได้ประกาศเป็นหมู่บ้านทางการ บ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโป่ง มีบ้านห้วยหินลาดในเป็นหมู่บ้านหลัก เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2543 โดย นายสุวงค์ ไพรวัลย์กุล ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่๗ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 1)นายตุ่ม ปู่แคระ 2)นายสงคราม เหล็กโพ และมีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง หมู่ที่๗ คือ 1)นายชัยประเสริฐ โพคะ และ 2)นายพันธ์ทิพย์ คำแปง
ปีพ.ศ.2544 วาระ อบต.หมดลงและมีการเลือกตั้งใหม่ โดยมี นาย ติ ปุแคระ และ นายพันธ์ทิพย์ คำแปงได้รับการเลือกตั้ง
ปีพ.ศ.2546 มีการยุบสภาอบต.และเลือกตั้ง อบต.รอบใหม่ มีนาย ดวงดี ศิริ และนาย ลอคำ ปุแคระ ได้รับเลือกเป็นอบต.
ปีพ.ศ.2548 หมดวาระผู้ใหญ่บ้านได้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยมีนาย สุวงค์ ไพรวัลย์กูล ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไปจนถึงหมดวาระ ปีพ.ศ.2553
ปีพ.ศ.2550 มีการเลือกตั้ง อบต.รอบใหม่ที่หมดวาระ มีนาย ดวงดี ศิริ และนาย คำเซะ จอเตะได้รับการเลือกตั้ง
ปี พ.ศ.2553 จนถึงปัจจุบัน มีนายชัยประเสริฐ โพคะ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
ปีพ.ศ.2554 มีการเลือกตั้ง อบต.รอบใหม่ที่หมดวาระลง มีนายชัยธวัช จอมติ และนาย คำเซะ จอเตะ ได้รับการเลือกตั้ง จนมาถึงปัจจุบัน
ลำดับเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลง
ปี พ.ศ. 2500 เริ่มทำสวนชาและค้าขายสินค้า
ปี พ.ศ. 2508 เริ่มเบิกนาในที่ราบลุ่ม
ปี พ.ศ. 2518 จัดระบบการจัดการป่าโดยชุมชน
ปี พ.ศ. 2520 ตัดถนนเข้าหมู่บ้านห้วยหินลาดใน
ปี พ.ศ. 2522 ทำบัตรประชาชนครั้งที่ 2 และได้รับสัญชาติไทยทั้งหมด
ปี พ.ศ. 2525 ชาวบ้านจัดซื้อรถยนต์เข้ามาใช้ในชุมชน
ปี พ.ศ. 2529 บริษัทสัมปทานป่าไม้
ปี พ.ศ. 2530 สร้างโรงเรียนบ้านห้วยหินลาดใน
ปี พ.ศ. 2531 สร้างระบบประปาภูเขา
ปี พ.ศ. 2534 โครงการดอยเวียงผาเข้ามาส่งเสริมปลูกพืชไม้ยืนต้น
ปี พ.ศ. 2535 สร้างวัด/อาศรม
ปี พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัลประชาธิปไตยดีเด่น
ปี พ.ศ. 2538 นำเครื่องปั่นไฟ/ทีวีเข้ามาใช้ในชุมชน
ปี พ.ศ. 2538 พัฒนาระบบการจัดการป่าให้เข้มข้นขึ้น จัดกิจกรรมทำแนวกันไฟฯ
วันที่ 6 ธันวาคม 2539 เข้าร่วมเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)
ปี พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว
ปี พ.ศ.2542 จัดแผนที่โมเดล และวิจัยการทำหน่อไม้
ปี พ.ศ. 2542 ติดตั้งโทรศัพท์หมู่บ้าน(สาธารณะ)
ปี พ.ศ. 2543 แยกหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 7 จากเดิม หมู่ที่ 2 บ้านโป่ง
ปี พ.ศ. 2544 งานวิจัย ไร่หมุนเวียน
ปี พ.ศ. 2546 ติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
ปี พ.ศ. 2548 ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว 5 ปี แห่งความยั่งยืน และ เยาวชน
ปี พ.ศ. 2549 สำรวจการใช้ที่ดิน และทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ทำหลักหมุด ศตจ.ปชช.
ปี พ.ศ. 2552 ลูกเห็บตกหนักที่สุดในรอบ 100 ปี
ปี พ.ศ. 2552 โครงการ GONGOWA (ญี่ปุ่น)
ปี พ.ศ. 2556 สถาปนาสิทธิชุมชนและประกาศเขตพิเศษทางวัฒนธรรมตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553
ปี พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลวีรบุรุษผู้ปกป้องผืนป่า (11 เมษายน 2556)โดย พะตี่ปรี ชาศิริ
ปี พ.ศ. 2556 ประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษ ปกาเก่อญอ
ปี พ.ศ. 2556 พะตี่ ปรีชา ศิริ ได้โล่คนดีศรีเชียงราย (25 กันยายน 2556)
ข้อมูลทั่วไป
ชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยงสะกอ (ปกาเกอญอ) สัญชาติไทย มีประชากรในชุมชนจำนวน รวมทั้งหมด 103 คน แยกเป็นชาย 54 คน หญิง 49 คน 23 ครอบครัว 18 หลังคาเรือน มีการนับถือบรรพบุรุษดั้งเดิม ผีปู่ ย่า ร่วมกับศาสนาพุทธ ลักษณะขอบเขตตั้งอยู่ในเขตป่าธรรมชาติที่คงสภาพอุดมสมบูรณ์มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 800-900 เมตร อาณาเขตของหมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณหุบเขา มีน้ำห้วยหินลาดไหลผ่าน ซึ่งมีลำห้วยสาขาด้วยกัน 14 สาย และตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ปูนหลวง,ป่าแม่ปูนน้อย,ป่าห้วยโป่งเหม็น) (ที่ประกาศเมื่อปี พ.ศ.2525 ) และคาบเกี่ยวระหว่างอุทยานแห่งชาติขุนแจ ชาวบ้านทุกครอบครัวก่อสร้างบ้านด้วยไม้แบบถาวร พื้นที่ทำกินมีความลาดชันประมาณ 35-40 องศาขึ้นไป วิถีชีวิตโดยทั่วไป โดยการพึ่งพิงกับป่า ที่เป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร และสัตว์ป่า มีระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีความหลากหลาย ระบบการทำสวนในลักษณะวนเกษตรการปลูกชาอัสสัม ร่วมกับพืชยืนต้นที่หลากหลาย การทำนาแบบราบและขั้นบันได การทำไร่หมุนเวียนที่ยังมีการหมุนเวียนรอบ 7-10 ปี การเลี้ยงสัตว์ยังคงเลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคและใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น ไก่ เป็ด หมู วัว ควาย เศรษฐกิจของชุมชนที่สามารถทำรายได้เกือบตลอดปี คือการแปรรูปชาและผลผลิตจากป่า เช่น หน่อไม้ มะขม มะแขว่น น้ำผึ้ง ฯลฯ ซึ่งเป็นการเก็บจากสวนวนเกษตรของชุมชน
ด้านการนับถือศาสนา
ชาวบ้านห้วยหินลาดใน นับถือผีเจ้าที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์และผสมผสานกับการนับถือศาสนาพุทธ ยังคงมี
มีการนับถือตามหลักความเชื่อดั้งเดิม ผีปู่ย่า เจ้าป่า เจ้าเขา การดำรงวิถีวัฒนธรรมประเพณีที่คงความเดิมและอนุรักษ์ไว้สืบทอดทั้งในชุมชน ในป่า และพิธีกรรมไร่นา เช่น การผูกขวัญมัดมือขึ้นปีใหม่และกลางปี การผูกสะดือเด็ก(เดปอถู่) การแต่งงาน การทำพิธีศพ และการเลี้ยงผีเจ้าป่าเจ้าเขา ผีขุนน้ำ ผีไร่ การรักษาพยาบาลด้วยหลักภูมิปัญญา ไสยศาสตร์ และสมุนไพร มีอัตลักษณ์ภาษาพูดและสืบทอดภาษาเขียนได้ มีการแต่งตัวด้วยชุดปกาเก่อญอในงานพิธีกรรมและยามว่างอยู่ในบ้านเรือน การทอผ้าใส่เอง ย่ามไว้ใช้และตำข้าวกิน เป็นวิถีชีวิตที่มีการพึ่งพิงจากภายนอกน้อยที่สุด
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ พื้นที่หมู่บ้านป่าตึง ชนเผ่าลีซู
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านห้วยหินลาดนอกหมู่ที่๗ ชนเผ่าปกาเกอญอ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านห้วยทรายขาว ชนเผ่าลาหู่
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตอุทยานขุนแจ
มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเวียงป่าเป้า ประมาณ 20 กิโลเมตร ตามถนนสายเวียงป่าเป้า-พร้าว ทางหลวงหมายเลข 1150
วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม
1. ด้านที่เกี่ยวข้องในชุมชน
ประเพณีการผูกขวัญมัดมือขึ้นปีใหม่และกลางปี (ปากี่จึ๊ หนี่ถ่อซอ+ปากี่จึ๊ หนี่พะพอ)
ประเพณีการแต่งงาน (ต่าถ่อปก่า พอเม)
พิธีกรรมเลี้ยงศาล เจ้าป่า เจ้าเขา (ต่าหลื่อก่อ)
พิธีกรรมทำแรกขวัญเมล็ดพันธุ์ข้าว (บือแชะคลี)
พิธีกรรมเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว (เพาะคีด๊ะ)
ความเชื่อการถือวันเดือนศีล (ต่าดื่อลา)
การทำพิธีศพ (ต่าจา)
การทำพิธีแก้การผิดจารีต ระหว่าง หญิง-ชาย (ต่าเอาะคื่อ มาเก)
2.ด้านพิธีกรรมในไร่ นา
การถามเมื่อ หรือ ดูยาม พื้นที่ไร่หมุนเวียน (ต่าก่าเด๊าะฆึ)
การทำพิธีปลูกข้าวไร่ฯ (ต่าแชะลอฆึ)
การเลี้ยงผีไร่ฯ (บรอฆึ) ต่าเต่อเม๊าะ ต่าแซ๊ะ ต่าลื่อเหม่ ต่าคาแก๊ะ
ผูกข้อมือเรียกขวัญข้าว (กี่บือคลี)
การทำพิธีส่งนกขวัญข้าว (ก๊อท่อโท่บีข่า)
การเลี้ยงผีน้ำ ผีฝาย
3. ด้านพิธีกรรมในครัวเรือน และการรักษาพยาบาล
เลี้ยงผีปู่ ย่า (ต่าเอาะแค)
การเรียกขวัญ (ก๊อเก่อลา/แกวะพือ/กี่ชู่/กี่วะ)
การส่งผีเมื่อไม่สบาย (ต่าเซอ/ต่าหลื่อ/ปะต่า/ต่าวี่/ทูที/พะที)
การรักษาด้วยสมุนไพร ยาต้ม(เตอะสี่คลอ) ยาฝนน้ำ(เตอะสี่เกละ) การห่อประคบ(เตอะสี่โบะ) อบไอน้ำ(เตอะสี่เซ่อเออ)
การรักษาทางไสยศาสตร์ ถามเมื่อ(ต่าก่า) น้ำมนต์(ทีอู) เป่าคาถา(ต่าอู)
4.ด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวกับป่าไม้
ป่าสะดือ (เดปอทู่)
ไหว้เจ้าที่เมื่อเข้าป่า
สืบชะตาป่า สืบชะตาน้ำ
5.ด้านการเล่นและรื่นเริง
รำดาบ รำกระบอง เล่นเตหน่า แกว เส่อเคร (ต่าโล่แกวะ)
การขับร้องบทซอ (อึลื่อมาธา)
การเล่นศิลปะทางคนตรี (แกเดอแกโม)
6.ความเชื่อและข้อห้าม
ไม่ทำไร่ที่กิ่วดอย น้ำล้อมรอบ ต้นน้ำ ริมน้ำ ที่เป็นตรงข้ามของสองพี่น้อง
ไม้ที่เป็นสองนาง ปลวกทำรัง บนจอมปลวกและไม้ล้มเอง ไม่นำมาสร้าบ้าน
สัตว์ที่ไม่ฆ่าและไม่นำเข้ามาในชุมชน ชะนี นกอีแซว นกแซงแซวนางปลา นกพญาไฟ นกเงือก อีเห็นหางพวง งูเหลือม นกยูง
ไม้ที่ไม่นำเข้าในชุมชน ไม้ไผ่ข้าวหลาม ต้นเต๋า
สัตว์ที่ไม่กินร่วมกับแขก ลิง ตัวอ้น ไก่ป่า เต่า หอย เป็ดเทศสีขาว เป็ดไล่ทุ่งไก่สีขาว
พิธีกรรมที่ไม่กินร่วมกับแขก เหล้าพิธี ต่าเอาะคื่อ มาเก ต่ามาแค แซะพอโค่
ไม่ตัดหวาย เผือก บอน ในเดือนเดียวกับ มีพิธี ผูกขวัญมัดมือ งานศพ
ไม่แต่งงาน สร้างบ้านใหม่ พิธีผูกขวัญมัดมือ ในเดือนที่มี จันทรุปราคา/สุริยุปราคา
ไม่แต่งงานในเดือน ที่ตรงกับ เต่อเล ทีแพะ ลาปลือ
ระบบการผลิต การประกอบอาชีพทางการเกษตรของชุมชน
การผลิตของชุมชนเป็นการจัดการระบบการใช้ที่ดินได้อย่างเหมาะสมในเขตการจัดการฟื้นที่ป่าชุมชนโดยการทำการเกษตร 3 รูปแบบ คือ
การทำไร่หมุนเวียนเป็นลักษณะการใช้ที่ดินแบบหน้าหมู่มีการหมุนเวียนใช้ ประมาณ 7-10 ปีต่อ รอบ แต่ละแปลงประมาณ 5 ไร่ เป็นการรักษาพันธุ์พื้นบ้านไว้อย่างต่อเนื่องในชุมชน และมีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ไร่หมุนเวียนไว้อย่างชัดเจน ในพื้นที่รักษาเขตป่าชุมชน
รูปแบบวนเกษตรจะใช้พื้นที่ที่ติดกับบริเวณหมู่บ้าน จะปลูกต้นชาเป็นหลักผสมผสานกับป่าไม้และนำพลับพันธุ์ดีมาต่อกับกิ่งพลับป่า การใช้ประโยชน์ตั้งแต่การใช้สอย สมุนไพร นำมาเป็นอาหารและขายเป็นรายได้ระดับล่างสุดจากลำห้วย ก็จะขุดบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด
การทำนา เป็นการใช้พื้นที่ ที่ไม่มีความลาดชันมาก และมีน้ำไหลผ่านอย่างเพียงพอในชุมชน จะมีการทำงาน 70 คน ของชุมชน
ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน ในรอบปีหนึ่งนั้นจะวนเวียนอยู่กับระบบการผลิตทางการเกษตร การทำไร่ ทำนา ทำสวน เป็นสำคัญและในปัจจุบันก็มีภารกิจเพิ่มขึ้น ในการดูแลรักษาป่า เช่นการทำแนวกันไฟ การเฝ้าระวังไฟป่า การดับไฟป่า การกิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลเช่นพิธีเปิดแนวไฟ การบวชป่าชุมชน การสืบชะตาแม่น้ำ ด้วย
ข้อมูลการประกอบอาชีพ
ประเภทอาชีพ | รายละเอียด | จำนวน (ครอบครัว) |
กลุ่มเกษตร | เพาะพันธุ์ไม้พื้นบ้าน | 23 |
ทำสวนชา | ดูแลรักษา แปรรูป | 23 |
ทำไร่หมุนเวียน | ปลูกข้าว พืชผัก สมุนไพร | 20 |
ทำนา | ปลูกข้าว | 14 |
หาของป่าขาย | หน่อไม้ หวาย พืชผักต่าง ๆ | 23 |
เลี้ยงสัตว์ | เลี้ยงวัว | 7 |
ที่อยู่อาศัย/ พื้นที่ดินทำกิน
พื้นที่อยู่อาศัย 18 แปลง 23 ครอบครัว 12 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา
พื้นที่ทำกิน สวนไม้ยืนต้น, นา, ไร่ถาวร 794 ไร่ 0 งาน 82 ตารางวา
พื้นที่ไร่หมุนเวียน 823 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา
พื้นที่ป่า 8,635 ไร่
รวม 10,279 ไร่
กลุ่มองค์กรที่มีอยู่ในชุมชน
1. กลุ่มผู้นำอนุรักษ์จัดการทรัพยากร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 เพื่อช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ ทำแนวกันไฟ ตรวจลาดตระเวร ตั้งกฎระเบียบชุมชนและคณะกรรมการ การจัดประชุมชุมชน /เครือข่ายป่า การถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นสู่รุ่น เป็นต้น โดยมี นาย ปรีชา ศิริ เป็นประธานคณะกรรมการ ต่อมาในปี พ.ศ.2525 ได้มีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการ จนถึงปีพ.ศ.2542 ได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบและโครงสร้างคณะกรรมการโดย นาย ชัยประเสริฐ โพคะเป็นประธานคณะกรรมการ
2. กลุ่มแม่บ้าน ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมภายในและเป็นตัวแทนของชุมชน มีนางศิริพร ปะปะ เป็นประธานกลุ่ม
3. กลุ่มสงเคราะห์ราษฎร ตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยกรมประชาสังเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือในด้านการเจ็บป่วย, ผู้ประสบภัย, กองทุนคนชรา มีสมาชิก 13 คน มีนายปรีชา ศิริ เป็นประธานกลุ่ม
4. กลุ่มออมทรัพย์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2543 เป็นการก่อตั้งรวมกันของชุมชน ซึ่งจะมีการออมเป็นประจำทุกเดือน หุ้นละ 10 บาท มีสมาชิก 50 คน มีนายเกรียงศักดิ์ ปะปะ เป็นประธานกลุ่ม
ข้อมูลด้านการจัดการทรัพยากร
การจัดการป่าชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน
จากสภาพป่าบ้านห้วยหินลาดในเป็นสภาพป่าสมบูรณ์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ที่หลากหลายและเป็นแหล่งต้นน้ำแม่ลาวไหลลงสู่ แม่น้ำโขงชุมชนมีวิถีชีวิต ที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความสัมพันธ์กับป่าสืบทอดจากบรรพบุรุษ ทำให้การจัดการทรัพยากรป่า มีความเคารพต่อธรรมชาติ ได้ใช้แบบอย่างยั่งยืนต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2529-2531ได้มีการสัมปทานป่าไม้ ทำให้ต้นไม้ใหญ่ ๆ ของชุมชนได้ถูกตัดไปหลายต้น ซึ่งเป็นการทำลายความเชื่อและความรู้สึกของชุมชน ที่มีการผูกขวัญไว้กับต้นไม้ ทำให้การต่อสู้เพื่อรักษาผืนป่าในขณะนั้น เป็นการขอร้องไม่ให้ตัดในระดับพื้นที่รัศมี จึงทำให้ไม่มีผลที่จะหยุดยั้งได้ จนกระทั่งได้มีการประกาศยกเลิกการสัมปทานป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ชุมชนบ้านห้วยหินลาดในยังคงเผชิญกับกฎหมายป่าไม้ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้การดำรงวิถีชีวิตที่ขาดความมั่นใจในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ทำให้ต้องออกไปต่อสู้เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหา เรื่องป่าไม้และที่ดินร่วมกันกับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ(คกน.) ในช่วงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ซึ่งได้ทราบข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียง พากษ์ภาษา ปกาเกอญอ และไปร่วมเรียกร้องร่วมกับสมัชชาคนจนที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จำนวน 99 วัน ซึ่งมีมติครม.ของรัฐบาลที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในแนวทางปฏิบัติก็ยังไม่ชัดเจนในขณะนี้ จากการที่ชุมชนได้มีการจัดการทรัพยากร ตามประเพณีไนช่วงแรกซึ่งเป็นการจัดการตามความเชื่อและการเคารพต่อธรรมชาติ ซึ่งได้ริเริ่มพัฒนากฎระเบียบชุมชน เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ขึ้นมาใหม่ และจำแนกพื้นที่ทำกิน พื้นที่ป่าและที่อยู่อาศัยขึ้นอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียกร้องให้เกิดการยอมรับคนอยู่กับป่าจากคนภายนอกและรัฐบาล องค์กรในชุมชนจากเดิมมีผู้นำทางธรรมชาติเป็นผู้กำหนดตามความเชื่อทางวัฒนธรรม ทำให้ต้องมีการจัดโครงสร้างของคณะกรรมการในการดูแลรักษาป่าขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำให้ชุมชนต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของความขัดแย้งจากคนภายนอก และหมู่บ้านใกล้เคียงในการใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน
กิจกรมการจัดการพื้นที่ในเขตป่าชุมชน
กิจกรรมการทำแนวกันไฟ เริ่มทำช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ของทุกปี โดยคนในชุมชน
เฝ้าระวังไฟป่าในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ –เมษายน ของทุกปี
ออกสำรวจและตรวจป่า เพื่อสอดส่งดูแล และป้องกันการบุกรุกป่า โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน
คณะกรรมการป่าชุมชน
นายชัยประเสริฐ โพคะ ประธาน
นายดวงดี ศิริ รองประธาน
นายปรีชา ศิริ รองประธาน
คณะกรรมการหมู่บ้าน
นายนิเวศน์ ศิริ
นายเกษม แอดู
นายจันทร์ แอดู
นายติ ปู่แคระ
นางยุพิน จะพอ
นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์
นางหล้า เหล็กไพร
นายปุหลง คำ
นางอนงค์ ปู่แคระ
นายมณเฑียร ทาแกะ
นายสุระ โพคะ
นายสุภวงค์ ปะปะ
นายประเวศน์ จะพอ
นางสุวารี แนะโพ
นายชาตรี แอดู
นายสมศักดิ์ ไพรวัลย์กุล
นายเกรียงศักดิ์ ปะปะ เลขานุการ
นายหน้อย เวชกิจ ที่ปรึกษา
นายปั๋น แนะโพ ที่ปรึกษา
นายนุ ปะปะ ที่ปรึกษา
ประวัติชุมชนบ้านหินลาดนอก
ประวัติความเป็นมา
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าในหมู่บ้านบอกว่า คนที่ตั้งถิ่นฐานที่บ้านหินลาดนออกคนแรกคือ นายตุ จอมติ ซึ่งพ่อของนายตุ๊ เป็นคน อ.เมืองเชียงราย ชื่อจอเมอติ แม่เป็นคนบ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ชื่อนาง เปาะ เมื่อแต่งงานแล้วได้ย้ายเข้าไปอยู่ที่บ้านชมพู อ.แม่อาย จากนั้นได้ย้ายกลับมาอยู่บริเวณ ห้วยโท อ.เวียงป่าเป้า บ้านห้วยทรายขาว บ้านแม่ฉาง บ้านป่าปูนสิงห์ บ้านห้วยโต้ง ต่อมานายตุได้แต่งงานกับคนที่บ้าน โซซูโกล๊ะ ชื่อ นางแอ ทาคริ แล้วประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๑ ย้ายจากบ้านหินลาดใน มาอยู่ที่บ้ายเซยา เพื่อมาทำนา แต่อยู่ได้ไม่นานเพราะเชื่อว่าผีดุ แล้วได้ย้ายไปอยู่อีกฝั่งของลำห้วย หรือบ้านหินลาดนอกปัจจุบัน ขณะนั้นมีคนบ้านมาด้วยกันจำนวน ๕ ครอบครัว มีนายเทอเนอเป็นฮี่โข่ (หัวหน้าหมู่บ้าน) ซึ่งดำรงตำแหน่งได้ไม่นานลูกทั้ง ๒ คนของนายเทอเนอได้เสียชีวิต ชาวบ้านเชื่อว่าเกิดจากการทำผิดธรรมเนียมเพราะคนที่จะเป็นฮี่โข่ (หัวหน้าหมู่บ้าน) ต้องเป็นพี่ แต่นายเทอเนอเป็นลูกพี่ลูกน้องของนายตุ๊ หลังจากนั้น นายเทอเนอ จึงย้ายไปอยู่บ้านหินลาดใน และนายตุ๊ จอมติ จึงเป็นฮี่โข่ (หัวหน้าหมู่บ้าน)
เดิมทีป่าบริเวณบ้านหินลาดนอกเป็นที่เลี้ยงสัตว์และสวนยาสูบของคนพื้นราบบริเวณนั้นเรียกว่าป่าหลวงหรือห้วยหม้อ และได้อนุญาตให้ชาวบ้านใช้พื้นที่บริเวณเลี้ยงสัตว์ และบุกเบิกเป็นที่ทำนา หลังจากนั้นได้มีชาวบ้านอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านหินลาดนอกมากขึ้นจนถึงปัจจุบันพอเรียงลำดับเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ชาวบ้านหินลาดนอกได้ทดลองปลูกข้าวโพด
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๐ มีการเข้ามาสัมปทานป่าไม้ มีการตัดถนนเข้ามาในหมู่บ้าน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ เข้าร่วมโครงการดอยเวียงผา เพื่อพัฒนาบนพื้นที่สูงส่งเสริการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กาแฟและไม้ผลยืนต้น
ในอดีตบ้านหินลาดนอกเป็นหย่อมบ้านของหมู่ที่ ๒ ต่อมาก็ได้ขึ้นเป็นหย่อมบ้านบริวาร ห้วยหินลาดในหมู่ที่ ๗ มีจำนวนประชากร ๒๕ หลังคาเรือน ๓๓ ครอบครัว ชาย ๗๕ คน หญิง ๖๒ คน รวมทั้งหมด ๑๓๗ คน
ข้อมูลทั่วไป
หมู่บ้านหินลาดนอก หมู่ ๗ ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย เป็นหมู่บ้านชาวเขากลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอ ตั้งอยู่ระหว่างหุบเขาอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๗๐๐ เมตร อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ลำห้วยที่สำคัญ คือ ห้วยแม่ฉางข้าว ห้วยหินลาด ซึ่งลำห้วยทั้งสองแห่งนี้ได้ใช้ประโยชน์ในการเกษตร เช่น ทำนา ส่วนลำห้วยที่ใช้อุปโภคบริโภค คือลำห้วยน้อย ปู่พาปู่โกล๊ะ ชาวบ้านเล่าว่าเมื่อก่อนมีคนพื้นราบชื่อปู่พาได้มาล่าหมูป่าบริเวณบ้านหินลากนอกและได้ถูกหมู่ป่ากัดตาย ชาวบ้านจึงได้ใช้ชื่อปู่พา เป็นชื่อลำห้วย น้ำจากลำห้วยต่าง ๆ ที่ไหลผ่านบ้านหินลาดนอกสามารถใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปีโดยไม่แห้ง ซึ่งบริเวณป่าต้นน้ำจะไม่มีใครไปรบกวนโดยการตัดไม้อย่างเด็ดขาด สภาพของดินเป็นดินแดงและดินรวนเหมาะสำหรับทำการเกษตรประเภทเพาะปลูก สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ ไม้ที่พบ เช่น ไม้เต็งรัง ไม้เหียง ไม้ระโส และป่าเต็งรังผสมป่าไผ่ซาง ไผ่ไร่ ไผ่หก และไผ่บง
การคมนาคม เส้นทางสาย เชียงราย - เชียงใหม่ แยกเข้าถนนสายอำเภอพร้าวเข้าไปอีกประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ถึงบ้านป่าตึงเข้าไปบ้านหินลาดนอกประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนลูกรัง ช่วงฤดูร้นการทางไม่ลำบากนัก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนจะมีปัญหาอย่างนักเนื่องจากถนนจะกลายเป็นโคลนและไหลลื่นมาก สามารถเดินทางด้วยการเดินเท้า การใช้พาหนะในการเดินทางคือ รถจักรยานยนต์และรถโดยสารประจำทางสาย อ.พร้าว - อ.เวียงป่าเป้า (ถนนหมายเลข ๑๑๕๐)
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านป่าตึง ต.บ้านโป่ง
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านโป่งเทวี ต.บ้านโป่ง
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านห้วยหินลาดใน ต.บ้านโป่ง
ทิศใต้ ติดกับ บ้านป่าคา ต.ป่างิ้ว
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน
หมู่บ้านหินลาดนอก เป็นชาวไทยภูเขาชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กระเหรี่ยง) เป็นบ้านบริวาณของบ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนที่มีขนาดเล็ก ยังมีความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้น มีการช่วยเหลือร่วมแรงร่วมใจกันในกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชน เช่น การเอามื้อเอาวัน การลงแขก) งานส่วนรวมของชุมชน เช่น การทำแนวกันไฟ การดับไฟป่า และงานที่เกี่ยวข้องกับประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งคนในชุมชนจะมีการนับถือศาสนาทั้งศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ แต่วิถีชีวิตไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักยังพึ่งพา ป่า และน้ำ ในการทำนา และเลี้ยงสัตว์ และมีระบบการผลิตเพิ่มขึ้นเช่น มีการทำไร่ข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันได้มีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลภายนอกชุมชนมากขึ้น ทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การรักษาพยาบาล และการค้าขาย ฯลฯ โดยคนในชุมชนยังคงรักษาอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีเอาไว้ได้และสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
ระบบการผลิตของบ้านหินลาดนอก
การทำนา ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำนา ผลผลิตจากการทำนาคิดจาก ข้าวที่นำไปปลูก ๑ ถัง สามารถผลิตข้าวได้ถึงจำนวน ๘๐ ถัง ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวด้วย เช่น พันธุ์ลำปาง พันธุ์มูเซอ ซึ่งในการผลิตข้าวในแต่ละครั้งสามารถเก็บไว้รับประทานได้ตลอดทั้งปี
การปลูกข้าวไร่ แต่เดิมจะปลูกในไร่หมุนเวียน แต่ในระยะหลังเริ่มมีการปลูกข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น เหลือเพียงไม่กี่ครอบครัวที่ยังมีการปลูกข้าวไร่อยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่มีที่ทำนาน้อยและปลูกข้าวแล้วไม่พอกิน จึงปลูกข้าวไร่เสริม
การทำไร่ข้าวโพด เป็นระบบการผลิตรูปแบบใหม่ ตามกระแสทุน ที่เข้ามาในหมู่บ้าน เริ่มจากปี พ.ศ.๒๕๒๗ พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวไร่ ได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนทั้งหมดทุกครัวเรือน ส่วนครอบครัวไหนที่ไม่มีทุนในการเพาะปลูก นายทุนจ่ายเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และสารเคมี ยาฆ่าหญ้าให้ก่อน พอเก็บเกี่ยวผลผลิตจึงค่อยหักค่าใช้จ่ายคืนให้กับนายทุน ซึ่งชาวบ้านจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบให้กับนายทุนหรือพ่อค้าคนกลาง เพราไม่สามารถต่อรองราคาผลผลิตได้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหนี้สินในครัวเรือน ประกอบการการใช้สารเคมีในไร่ข้าวโพดส่งผลให้พันธุ์กรรมของพืชผักบางชนิดสูญหายไป
การเลี้ยงสัตว์ ชาวบ้านมีการเลี้ยงสัตว์ด้วยวัตถุประสงค์หลัก ๒ ข้อ คือ เลี้ยงเพื่อไว้บริโภคหรือขาย และการเลี้ยงเพื่อประกอบพิธีกรรม สัตว์ที่เลี้ยง เช่น วัว ควาย หมู ไก่ ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ สามารถทำไปพร้อม ๆ กับการทำไร่หมุนเวียน
การหาของป่า ป่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญที่สุดของชุมชน ทุกครัวเรือน ได้ใช้ประโยชน์จากป่า ทั้งการบริโภคและใช้สอย จะมีการขายบ้างเล็กน้อย เช่น หน่อไม้หก แต่ปัจจุบันไม่มีการขายเนื่องจากเส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ของป่าที่ใช้เป็นอาหาร เช่น หน่อไม้ เห็ด และสัตว์ป่าบางชนิด การใช้สอย การนำไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน แต่จะต้องได้อนุญาตจากคณะกรรมการป่าชุมชนของหมู่บ้านเสียก่อน เพื่อเป็นการควบคุมการใช้และการหาของป่าอย่างไม่มีขอบเขต
สวนผสมผสาน เป็นการปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดในสวนเดียวกัน เช่น มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ กาแฟ ต้นกล้าได้รับการสนับสนุนจากโครงการดอยเวียงผาพัฒนาบนพื้นที่สูง และมีการนำพันธ์ไม้อื่น ๆ เข้ามาปลูกเรื่อย ๆ
สวนชาและสวนกาแฟ สวนชาเป็นสวนที่มีมาแต่ดั้งเดิม ส่วนกาแฟเริ่มปลูกตามโครงการดอยเวียงผาฯ เข้ามาสนับสนุน ครอบครัวที่ทำประมาณ ๓ ครอบครัว
ตารางรูปแบบการทำการผลิต
รูปแบบการผลิต | จำนวนครอบครัว |
ข้าวโพด + ข้าวไร่ + เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า + ทำนา + สวนผสมผสาน | ๒ |
ข้าวโพด + เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า + ทำนา + สวนผสมผสาน | ๓ |
ข้าวโพด +เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า + ทำนา | ๖ |
ข้าวโพด + ข้าวไร่ + เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า | ๗ |
ข้าวโพด + สวนชา + เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า + ทำนา น | ๘ |
ข้าวโพด + ข้าวไร่ + เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า + ทำนา | ๙ |
ข้าวโพด + ข้าวไร่ + เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า + สวนผสมผสาน | ๑ |
ข้าวโพด + เลี้ยงสัตว์ + หาของป่า + ทำนา + สวนผสมผสาน | ๔ |
ข้าวโพด + เลี้ยงสัตว์ + ภารโรง | ๑ |
รวม | ๒๖ |
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
บ้านห้วยหินลาดนอกสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๗๐๐ เมตร ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน มีดอยสำคัญ เชน โถ่เคโจ๊ะ ลาก่าโจ๊ะ เป็นดอนที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ในการหาของป่าและเลี้ยงสัตว์ ลำห้วยที่มีความสำคัญ คือ ห้วยแม่ฉางข้าว ห้วยหินลาด ห้วยต้นตุ่ม และห้วยหก เป็นลำห้วยหลักที่ใช้ในการเกษตร ส่วนป่าสามารถแบ่งได้ตามลักษณะนิเวศออกเป็น ๒ ประเภท คือ
ป่าเบญจพรรณ (เกอเนอพา)
ในอดีตการจัดการทรัพยากรในชุมชนยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน อาศัยภูมิปัญญาและความเชื่อของคนในชุมชนที่สั่งสม เลือกสรรกลั่นกรองมาหลายชั่วอายุคน จนกลายเป็นจารีต พิธีกรรมความเชื่อ ซึ่งมีนัยความสำคัญของการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่า ที่สอดคล้อง กับความเป็นจริงและวิถีชีวิต เช่น ป่าเดปอ (ป่าที่นำสะดือเด็กแรกเกิดนำมาผูกติดกับต้นไม้) จะไม่มีการตัด ไม้ที่ไม่นิยมนำมาสร้างบ้าน เช่น ไม้ที่มีง่ามสองนาง ไม้ที่ขึ้นบนจอมปลวก ไม้ที่มีเถาวัลย์พันรอบต้น ไม้ประเภทต้นโพธิ์ ต้นไทร และป่าที่เป็นต้นน้ำ รวมถึงป่าช้าที่จะไม่มีการนำมาใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์เพราะเชื่อว่าเป็นไม้ที่ไม่เป็นมงคลหากนำมาทำที่อยู่อาศัยและเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์ด้วย
พิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ ผี “ ไม่เพียงเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกันเท่านั้นแต่ยังเป็นตัวกำหนดถึงแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย ในความเข้าใจและรู้สึกของชาวบ้านสรรพสิ่งที่อยู่บนโลกต่างมีสิ่งที่เรียกว่า “ผี” คอยดูแล รักษาอยู่ ผืนป่าอันกว้างใหญ่มีเจ้าป่าเจ้าเขาคอยดูแล ขุนห้วยและแม่น้ำมีผีห้วยผีน้ำ ส่วนต้นไม้ต่าง ๆ ก็มีผีหรือนางไม้ คอยคุ้มครองดูแลเช่นกัน ทุกอย่างที่อยู่อยู่ตามธรรมชาติย่อมมีเจ้าของทั้งหมด ดังนั้นมนุษย์ไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมหยาบคายต่อธรรมชาติ หรือละเมิดสิทธิการดำรงอยู่ของธรรมชาติ หากมนุษย์ละเมิดกฎดังกล่าวมนุษย์ต้องประกอบพิธีการขอขมาลาโทษ และหากไม่ดำเนินการ มนุษย์ผู้นั้นจะได้รับการลงโทษโดยธรรมชาติ
ความเชื่อต่อธรรมชาติและเจ้าป่าเจ้าเขา หากเดินทางเข้าป่าเพื่อเก็บหาของป่าเป็นอาหาร ล่าสัตว์ ชาวบ้านจะประพฤติปฏิบัติอย่างระมัดระวังตัว เช่น ไม่พูดจาเสียดสี หยาบคาย ไม่หัวเราะเสียงดัง ฯลฯ ชาวบ้านคิดว่าในป่ามีผีอาศัยอยู่มากมาย ผีแต่ละตัวมีจิตใจที่แตกต่างกันไป บางตัวอาจมีจิตใจ ที่ชั่วร้าย หากมนุษย์หัวเราะเสียงดัง ผีตนนั้นอาจเข้าใจว่าหัวเราะเยาะเย้ย และสร้างความเลวร้ายให้แก่มนุษย์ได้
การเลี้ยงผีป่า การเลี้ยงผีน้ำ หรือการเลี้ยงผีฝาย เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงกลไกการจัดการทรัพยากรของบรรพบุรุษที่ยากจะเข้าใจ หากไม่มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง ฐานที่สำคัญของภูมิปัญญา คือความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งในโลกมีเจ้าของคอยปกปักรักษา การใช้ประโยชน์ต้องได้รับการขออนุญาต ละเมิดหรือลบหลู่ จะได้รับความเดือนร้อนไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำ ครอบครัว หรือชุมชน การปฏิบัติตามวิถีทางการปฏิบัติของบรรพบุรุษเป็นแนวทางที่ให้การดูแลจัดการป่าของชุมชนได้เป็นอย่างดี
สภาพปัญหาและผลกระทบ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ เมื่อบริษัทเชียงรายทำไม้จำกัด ได้รับสัมปทานการทำไม้ในพื้นที่ป่า สำนักงานป่าไม้เขตเชียงรายได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจและตีตราไม้เมื่อที่จะทำการโค่นล้มไม้ ขณะนั้นชาวบ้านไม่มีสิทธิและอำนาจในการต่อรองกับบริษัทสัมปทานไม้ป่าไม้จึงถูกตัดโค่นเกือบทั้งหมด และบริษัทได้ใช้รถแทรกเตอร์มาปรับพื้นที่ตามภูเขาเพื่อใช้เป็นเส้นทางรถยนต์ สำหรับลำเลียงไม้ ทำให้สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่และถูกล่าได้ง่ายขึ้น
การสัมปทานป่าไม้ ทำให้สัตว์ป่าที่เคยอาศัยอยู่ เช่น ชะนี ไก่ฟ้า เสือ หมี เลียงผา ฯลฯ ได้สูญหายไป หลังจากนั้นหมู่บ้านได้รับการพัฒนาหลายด้าน เช่นมีการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขา ถนนหนทางสามารถสัญจรไปมาสะดวกขึ้น หลังจากหมดสัญญาการสัมปทานป่า ชาวบ้านได้ให้ความสนใจในการดูแลป่าเพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและทรัพยากร
ก่อนปี พ.ศ.๒๕๒๗ การผลิตแบบยังชีพเป็นเป้าหมายหลักของชุมชน การเลี้ยงสัตว์ก็เพื่อไว้ขายในยามจำเป็น แต่เมื่อเทียบการปลูกข้าว แบบไร่หมุนเวียน กับการทำนาในพื้นที่ราบแล้ว การทำนาในพื้นที่ราบให้ผลผลิตมากกว่า เช่น ปลูกข้าวพันธุ์ลำปาง โดยใช้เมล็ดพันธ์ ๑ ถัง ให้ผลผลิต จำนวน ๑๐๐ ถัง อีกทั้งขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก แค่ดูแลน้ำให้ทั่วถึงแล้วปล่อยทิ้งไว้ ถ้าการปลูกข้าวพันธุ์มูเซอ ในไร่หมุนเวียน ใช้เมล็ดพันธุ์ ๑ ถัง จะให้ผลผลิตจำนวน ๕๐ ถัง และต้องดายหญ้า ๒-๓ รอบ
เงื่อนไขปัจจัยการผลิตดั้งเดิม อย่างไร่หมุนเวียนจึงได้ลดลงและถึงกับสูญหายไป และเปลี่ยนเป็นการปลูกข้าวโพดแทน และชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่เป็นรายบุคคล
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการผลิตเพื่อการบริโภค หรือเพื่อขาย ปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อขาย และการใช้สารพิษเคมีทางการเกษตรต่าง ๆ และสภาพปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนพอจะสรุปได้ดังนี้
๑. ปัญหาหนี้สิน เนื่องจากการปลูกข้าวโพดมีความเสี่ยงด้านราคาสูง ต้นทุนการผลิตพ่อค้าคนกลางเป็นคนออกค่าใช้จ่ายให้ หรือไปกู้ยืมเงินจากแหล่งทุน แล้วนำไปใช้จ่ายนอกเหนือจากทำไร่ข้าวโพด ทำให้เกิดหนี้สินที่ติดพันจนไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ในระยะเวลาที่สั้น พบว่าแหล่งหนี้ของชาวบ้านมาจาก ๑) กองทุนหมู่บ้าน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ๒) พ่อค้าคนกลาง ๓) กู้สหกรณ์ ๔) ยืมจากญาติพี่น้อง เป็นต้น
๒.การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตช่วงแรกๆ ค่าใช้จ่ายในการผลิต เกือบจะไม่มีเลย เนื่องจากสภาพดินใหม่ หญ้าไม่รกไม่มีวัชพืชมากนัก แต่หลังจากปลูกหลายๆปี ดินเริ่มมีปัญหา วัชพืชมากขึ้นเรื่อยๆ เท่ากับการเพิ่มต้นทุนการผลิตมากขึ้นโดยไม่มีทางเลือก ความเสี่ยงด้านราคา เนื่องจากชาวบ้านไม่มีอำนาจต่อรองราคา การกำหนดราคาจึงเป็นกลไกของตลาด หรือพ่อค้าคนกลาง
๓. การลดลงของพื้นที่สีเขียว (พื้นที่ป่าที่เคยเป็นไร่หมุนเวียน) ในการทำไร่หมุนเวียนแม้ว่าจะมีการแผ้วถางป่าแต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นสีเขียว เพราะการทำไร่หมุนเวียน ป่าจะฟื้นกลับมาเหมือนเดิมหลังจากที่ทิ้งพื้นที่ไว้ระยะหนึ่ง แต่เมื่อปรับพื้นที่ไร่หมุนเวียนเป็นไร่ถาวร ทำให้พื้นที่ดังกล่าวโล่งเตียน มีเพียงต้นหญ้า โดยเฉพาะหน้าแล้งจะดูแดงฉานและแห้งแล้งไปหมดเนื่องจากป่าไม่สามารถฟื้นค้นสภาพได้อีก
๔.การเสื่อมสภาพของดิน เมื่อเปรียบเทียบกับอดีตด้วยการสังเกตลักษณะดินและการการเจริญเติบโตของพืช เห็นว่าผิดไปจากปกติที่เคยเป็นมา หน้าร้อนดินจะแข็งมาก แต่หน้าดินกลับและเป็นโคลนและลื่นมาก เมื่อเดินเข้าไปจะลื่นล้มได้ง่าย สำหรือการเจริญเติมโตของพืช หากไม่ใส่ปุ๋ยพืชที่ปลูกจะไม่ได้ผล ต้องใช้ปุ๋ยมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าโครงสร้างของดินเปลี่ยนไป และคุณภาพของดินนับวันจะด้วยคุณภาพลง การแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ปุ๋ยและยายิ่งส่งผลกระทบต่อสภาพของดินมากขึ้น
๕. ความเสี่ยงของการลดลงของพันธุ์พืชธรรมชาติ และพันธุกรรมพื้นบ้าน ตั้งแต่มีการเข้าสู่ระบบของกระแสทุน และการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมท้องถิ่น ที่เคยปลูกในไร่หมุนเวียน เนื่องจากระบบแบบไร่หมุนเวียนได้หมดไป พันธุกรรมพื้นบ้านที่เคยปลูกจึงได้สูญหายไปด้วย เนื่องจากพืชบางชนิดไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ถาวรได้ เช่น ห่อวอ แตงกวา หรือบางอย่างปลูกไม่ได้ เพราะเป็นพืชที่เป็นเถาวัลย์ต้อนร้านให้เถาพันขึ้น แต่ในไร่ข้าวโพดไม่มีร้านให้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว และตระกูลมัน นอกจากนี้เห็นหลายชนิดที่เกิดขึ้นจากต่อไม้ก็ได้สูญหายไปเช่นกัน การลดลงของพืชผักธรรมชาติและพันธุกรรมพื้นบ้าน ส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งพาตลาดนอกชุมชนที่มีความเสี่ยงกับสารพิษเคมี
๖. การตกค้างของปุ๋ยและสาเคมีในดิน น้ำและพืช ก่อให้เกิดดินเสื่อมโทรม การแก้ไขที่ผ่านมา คือ การใส่ปุ๋ยเมื่อผลผลิตไม่ดี การใช้ยาฆ่าหญ้า การใช้ยาคุม นับวันจะใช้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดสารตกค้างในดินและวัชพืชมากขึ้นกว่าเดิม น้ำในลำห้วยไม่สามารถดื่มหรืออาบได้
๗. การตกตะกอนของดินในลำห้วย หลังจากการใช้สารเคมีทำให้ดินร่วนซุยกว่าปกติ ทำให้เกิดดินพังทลายไหลลงตามลำห้วย และไหล่ทางของถนนถูกกัดเซาะได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลให้น้ำได้เปลี่ยนเส้นทางการไหลของน้ำ
๘. การลดลงของพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ในอดีตที่มีการทำไร่หมุนเวียน พื้นที่เลี้ยงสัตว์สามารถทำควบคู่กันได้ แต่พอมีการปรับเปลี่ยนจากไร่หมุนเวียนเป็นไร่ถาวรเพื่อปลูกข้าวโพด พื้นที่สัตว์เลี้ยงสัตว์จึงลดลงจำนวนมากเหลือเพียงทุ่งนาและป่าเท่านั้น ที่ผ่านมามีวัวของชาวบ้านตายเนื่องจากการถุงพลาสติกที่ใส่สารเคมี ซึ่งชาวบ้านได้ทิ้งไว้ตามกอไผ่หรือลำห้วย และก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในชุมชน หลังจากนั้นมีการสร้างข้อตกลงเรื่องการทิ้งภาชนะที่ใช้บรรจุสารเคมีเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก เมื่อพื้นที่สัตว์ลดลงชาวบ้านจึงได้นำสัตว์เลี้ยวไปเลี้ยงตาป่าที่อยู่ห่างไกลออกไปอีก
๙. การลดลงของการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในการทำไร่หมุนเวียน วัฒนธรรมของปกาเกอญอ จะมีการลงแขกช่วยเหลือกัน ซึ่งการทำไร่แบบเก่า ไม่มีปัจจัยข้างนอกเข้ามามีอิทธิพล ไม่รีบเร่ง ไม่แข่งกับเวลา ไม่มีต้นทุนในการผลิตมากนัก แต่เมื่อเข้าสู่การใช้ที่ดินเป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อขาย ทำให้ต้องแข่งขันกับระยะเวลาการเพาะที่ภายนอกเป็นผู้กำหนด ทำให้ต่างคน ต่างทำของตนเอง ไม่มีการแลกเปลี่ยนแรงงานกัน ขาดความสัมพันธ์และช่วยเหลือเกื้อกูลกันลดลง
๑๐. เกิดอันตรายต่อสุขภาพการได้รับสารพิษเคมีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการใช้ยาและสารเคมีต่างๆ ไม่ถูกสุขลักษณะตามระบุในบรรจุภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่อทุกคนที่ใช้ อาการที่สังเกตได้ เช่น หน้ามืด ตาลาย เป็นลม วิงเวียนศีรษะ เกิดผดผื่นตามร่างกาย ปวดตามข้อ เกิดความเครียด และมีอาการผอมลงเรื่อย ๆ จนเสียชีวิต ซึ่งตรงกับการสันนิษฐานของแพทย์ว่าเกิดจาการได้รับสารพิษเคมีมากจนเกินไป
กระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชน
จากการนโยบายการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐ เช่น การประกาศอุทยานทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน การไล่คนออกจากป่า ชาวบ้านจึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการทรัพยากรเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ หมู่บ้านได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) จึงเป็นแรงเสริมสำคัญในการอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงร่วมมือกันอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการทำแนวเขตควบคุมป้องกันไฟป่า กำหนดเขตป่าอนุรักษ์ของชุมชน ตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนหมู่บ้าน พร้อมทั้งร่วมกันตั้งกฎระเบียบ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน
สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากร
พื้นที่ชุมชนทั้งหมด จำนวน ๖,๔๖๗ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา โดยจำแนบพื้นที่ดังต่อไปนี้
ป่าชุมชน/อนุรักษ์ ๕,๔๔๓ ไร่ ๐ งาน ๐ ตารางวา
ที่ทำกิน ๙๗๓ ไร่ ๓ งาน ๕๑ ตารางวา
ที่อยู่อาศัย ๔๘ ไร่ ๓ งาน ๙ ตารางวา
พื้นที่สาธารณะ ๒ ไร่ ๐ งาน ๑๒ตารางวา
นอกจากจะมีการจัดการควบคุมการใช้ทรัพยากรของคนในชุมชนแล้ว หมู่บ้านยังมีมาตรการ การจัดการทรัพยากรกับบุคคลภายนอกที่เข้าล้ำเขตของชุมชน ดังที่เคยมีกรณี ของชนเผ่าลีซู บ้านป่าตึงบุกรุกขยายพื้นที่ทำกินเข้ามาในป่าชุมชน ที่ผ่านมาชุมชนได้นำผู้นำทั้ง ๒ หมู่บ้าน เจรจาตกลงกันกัน จนได้ข้อสรุปไม่ให้ใช้ประโยชน์ต่อ และชี้แจงกฎระเบียบของหมู่บ้านหินลาดนอก และปักแนวเขตป่าร่วมกัน โดยให้กำนันเป็นเป็นผู้รับรอง
คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านหินลาดนอก
นายชัยธวัช จอมติ ประธานคณะกรรมการ
นายกาสี ชิโย รองประธาน
นายตุ่ม ปุแคระ รองประธาน
นายวิโรจน์ จอแตะ ฝ่ายการเงิน
นางปิง ทาเกะ ฝ่ายการเงิน
นายถวัฒน์ แอดู ฝ่ายการเงิน
นางจันทร ปู่แคระ ฝ่ายบัญชี
นางวาลาซิณี ชิโย ฝ่ายบัญชี
นางนงคราญ ปู่หล้าเงิน ฝ่ายบัญชี
นายบุญชัย จอเตะ ฝ่ายบัญชี
นายคีรีวีร์ โพคะ ฝ่ายการเงิน
นายธีรศักดิ์ จอแตะ ฝ่ายข้อมูล
นายภานุกร จอมติ ฝ่ายข้อมูล
นายศรีบูรณ์ ชิโย ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินชุมชน
นายถนัด จะสุ ฝ่ายติดตามสถานการณ์
นายฉัตรชัย ศิริคำ ฝ่ายติดตามสถานการณ์
นายลอคำ ปู่แคระ ฝ่ายติดตามสถานการณ์
นายคำแซะ จอเตะ ฝ่ายติดตามสถานการณ์
นายมะโน โพคะ ฝ่ายประชาสัมพันธ์
นางมาลา ปู่แคระ ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ชุมชนบ้านผาเยือง
ประวัติความเป็นมา
จากอดีตเป็นสิ่งที่น่าเชื่อว่าชนเผ่า “ปกาเก่อญอ” เป็นชนเผ่าชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาเนิ่นนานหลายชั่วอายุคน ที่ไม่มีผู้ใดคาดประมาณนับเป็นปีได้ ชาวปกาเก่อญอ ใช้จากการบอกเล่าความจำของบรรพบุรุษ เช่น การตั้งถิ่นฐาน การย้ายถิ่นฐาน การถ่ายทอดวิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม สืบทอดเจตนาผู้นำกลุ่ม และรอบหมุนเวียนของการทำไร่โดยนับเป็นปีที่ค่อนข้างแม่นยำมากและสืบต่อกันมา
ชื่อหมู่บ้านปัจจุบันเรียกว่าบ้านห้วยผาเยือง จากอดีตนั้นไม่ทราบถิ่นฐานที่แน่ชัดว่าชาวบ้านกลุ่มนี้มาจากที่ใด แต่เท่าที่สืบทราบได้ว่า นายเหว่คา เป็นบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มาจากอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
โดยก่อนที่จะได้มาเป็นชุมชนบ้านผาเยืองนั้น มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณใกล้ๆ กับแห่งนี้แล้วทั้งหมด ๑๑ แห่งด้วยกัน แดลอ คือ บ้านร้างเก่า โดยแห่งแรกชื่อ แดลอแมแพวปู ซึ่งตั้งอยู่เหนือชุมชนปัจจุบันระยะห่างประมาณ ๑ กิโลเมตร เข้ามาอยู่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีผู้มาตั้งถิ่นฐานด้วยกันที่นี่ทั้งหมดประมาณ ๑๕ ครอบครัว มีนายพะลีหลวง เป็นผู้นำหมู่บ้าน (ฮี่โข่) อยู่ได้ประมาณ ๕-๖ ปี เกิดการแตกแยกย้ายถิ่นฐาน โดยบางส่วนไปอยู่ที่แม่ปูนน้อย สาเหตุเนื่องจากว่าแดลอแมแพวปู แห่งนี้มีพื้นที่ทำการเกษตรทำไร่น้อยไม่เพียงพอ นายพะลีหลวง และลูกน้องทั้งหมด ๕ ครอบครัวจึงย้ายมาอยู่แดลอไม้ตากวางโกล๊ะ ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แห่งนี้ได้เพียง ๓ ปี นายพะลีหลวงจึงได้เสียชีวิตด้วยโรคชรา ชาวปกาเก่อญอเชื่อว่า ผู้นำหมู่บ้าน (ฮี่โข่) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งถิ่นฐานดูแลความทุกข์สุขของชาวบ้าน ดำเนินวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ เมื่อฮี่โข่ถึงแก่กรรมที่นั่นจะต้องมีการเคลื่อนย้ายถิ่นหรือบ้านเรือนออกจากที่เดิม และหลังจากที่นายพะหลีหลวงได้ถึงแก่กรรม ชาวบ้านอยู่ต่อไปก็ไม่มีความสุข มีเสือป่ามาจับกินสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านแทบทุกวัน
ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ย้ายออกจากที่แห่งนี้ข้ามไปอยู่ที่ แดลอทีเปอคี ช่วงแรกมี ๕ ครอบครัว ต่อมาชาวบ้านจากห้วยมะแคว่น แม่ฉางข้าว เข้มมาอาศัยอยู่ด้วยเพิ่มอีกประมาณ ๑๒ ครอบครัว ซึ่งนายเหว่คา ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำหมู่บ้าน (ฮี่โข่) ชาวบ้านอาศัยอยู่ที่นี่มาเป็นเวลา ๗ ปี ในพื้นที่แห่งนี้มีแม่น้ำไหลผ่าน แต่พอไหลลงมาใกล้ถึงหมู่บ้านน้ำก็หายไปซึมลงใต้ดิน ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นแม่น้ำสายของเจ้าผีป่าต่างๆ และอยู่ที่นี่ก็มีแต่เสือและงูเหลือมมาจับกินสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน จึงได้แยกย้ายกันไปอยู่ ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งย้ายไปอยู่ห้วยทราย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือนายเหว่คา และลูกบ้านย้ายลงมาอยู่แดลอตาซูเบะคี นายเหว่คา ยังดำรงตำแหน่งผู้นำ (ฮี่โข่) อาศัยอยู่ด้วยกัน ๘ ครอบครัว ประกอบอาชีพทำไร่ปลูกพืชหมุนเวียน อยู่มา ๓-๔ ปี เกิดการทะเลาะกันในหมู่บ้านเดียวกัน
ซึ่งผู้คนเมื่อก่อนมีเวทย์มนต์คาถากันมากต่างเกิดเข้าใจผิดกัน ทำให้เกิดการสาปแช่งด้วยเวทย์มนต์คาถา (เซอเส๋อแร) มีผู้เสียชีวิต ๓ คน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่นี้ ซึ่งเชื่อว่าถ้าไม่ย้ายจะต้องเกิดผู้คนล้มตายอีกจำนวนมาก ดังนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่แดลอหล๊ะชาถ่า นายเหว่คา ดำรงตำแหน่งผู้นำเช่นเดิม และมีชาวบ้านห้วยมะแคว่นอีก ๒ ครอบครัว อาศัยรวมอยู่ด้วย ในเวลานี้มีการนำวัวเข้าเลี้ยงด้วย ซึ่งนางอี่ดู เป็นผู้นำมาเลี้ยงคนแรก อยู่ที่แห่งนี้ได้ประมาณ ๓ ปี นายเหว่คา ได้ถึงแก่กรรมตามความเชื่อ ลูกหลานต้องอพยพย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน ชาวบ้านจึงเคลื่อนย้ายขึ้นเหนือไปอีกประมาณ ๑๐๐ เมตร ชื่อว่าแดลอหว่ามีกล๊ะ อยู่รวมกันประมาณ ๙ ครอบครัว
แก่เหล็กเป็นชาวบ้านที่ไม่ใช่ลูกพี่ลูกน้องและพี่น้องของนายเหว่คา คราวนั้นนายแก่เหล็กขอขึ้นมาเป็นผู้นำ (ฮี่โข่) อยู่ที่แห่งนี้มีการประกอบอาชีพบุกเบิกไร่ชา โดยมีนายเซอ คำ เป็นผู้ที่เห็นว่าพื้นที่นี้มีต้นชารวมอยู่ด้วยจึงบุกเบิกและปลูกเพิ่ม ในช่วงที่อยู่แดลอหล๊ะชาถ่าและแดลอหว่ามีกล๊ะ เริ่มรู้จักค้าขายคบค้าสมาคมกับชนเผ่าอื่นๆ เช่น จีนฮ่อ ค้าขายใบชาด้วยกัน และชาวม้งตั้งโรงชาที่ห้วยป่ากล้วย ขายใบชาสดกิโลกรัมละ ๑ บาท ขายใบชาแห้งกิโลกรัมละ ๑๕ บาท มีการทำไร่ชาครั้งแรก ๒ แปลง พื้นที่ประมาณ ๔-๕ ไร่ และทำความรู้จักกับคนพื้นเมืองตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว ตำบลเวียง เขตอำเภอเวียงป่าเป้า ค้าขายของป่า เช่น ลูกชิด (เต๋า) ทำเปลือกไม้ไก๋ มีชาวบ้านพื้นเมืองเข้ามาเป็นหมอยาเมือง หมอผี และการปลูกเซรุ่มป้องกันไข้ทรพิษ มาพ่นยาดีดีทีป้องกันไข้ป่า (มาลาเรีย)
ทางอำเภอส่งสัสดีอำเภอ และหน่วยงานปกครองมาสำรวจข้อมูลราษฎร อยู่ที่นี่ได้ประมาณ ๓ ปี เกิดฮี่โข่ปฏิบัติประพฤติมิชอบ ไม่ปฏิบัติตามประเพณีและความเชื่อ มีการแสวงหาพื้นที่ทำไร่เรื่อยๆ จนชาวบ้านต้องย้ายมาอยู่แดลอเส่กุ๊ยกล๊ะ อาศัยอยู่รวมกันประมาณ ๙ ครอบครัว นายแก่เหล็ก จึงมอบให้นาย ดินุ ผู้เป็นญาติกันขึ้นเป็นฮี่โข่ อยู่จนถึงปี ๒๕๐๖
ทางอำเภอมาแต่งตั้งเป็นผู้นำชุมชน ทำเหรียญที่ระลึกสำหรับชาวเขา จดทะเบียนราษฎร์ อยู่ที่นี่ได้ประมาณ ๒-๓ ปี นายดินุ ได้เสียชีวิตลงชาวบ้านจึงอพยพย้ายขึ้นไปอยู่บนดอย แดลอหว่ามีบอโจ๊ะโข่ อาศัยอยู่รวมกันทั้งหมดประมาณ ๙ ครอบครัว นายแก่เหล็กกลับมาเป็นฮี่โข่อีกครั้ง พื้นที่ตั้งเป็นยอดดอยสูงมากลำบากในการหาน้ำและอาหาร
ช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้บัตรประชาชน และโอนสัญชาติไทย เป็นช่วงที่พบกับความลำบากจึงได้อพยพไปส่วนหนึ่ง คือ กลุ่มของนายแก่เหล็ก และลูกบ้านไปอยู่ที่ห้วยไม้เดื่อ ๓ครอบครัว ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งย้ายมาอยู่ที่แดลอเป๊อะหน่อยถู่ (สบห้วยผาเยือง) ซึงอยู่ห่างจากพื้นที่อาศัยปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๕๐๐ตร ซึ่งมีนายวะ คำอือ เป็นผู้นำกลุ่มได้ย้ายลงไปอยู่แดลอหว่าเกละกล๊ะ ซึ่งห่างจากเดิมไปอีกประมาณ ๕๐๐ตร อยู่ได้ ๒ปี ย่างเข้าปีที่ ๓นายวะ คำอือ และลูกหลานคิดถึงและห่วงถิ่นฐานเดิม และในระยะเวลาดังกล่าวที่อยู่ที่บ้านห้วยเฮี้ยมีการไปเฝ้าไร่ขาอยู่เป็นประจำที่บ้านห้วยผาเยือง นายวะ คำ และยานเซอ คำ สองพี่น้องจึงพาครอบครัวอพยพไปถิ่นฐานเดิมที่ห้วยผาเยือง อยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๒๗ นายเฉลิมพล เวชกิจ อยู่บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่งได้แต่งงานกับนางสาวศรีพอ คำ เป็นครอบครัวใหม่ขึ้น รวมเป็น ๓ ครอบครัว
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๒๙ นายพะวะ งอแซะ ได้อพยพมาจากบ้านแม่ฉางข้าว ตำบลป่างิ้ว มาทั้งครอบครัว รวมเป็น ๔ ครอบครัว
ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๓๖ นายประพันธ์ มิกา ได้แต่งงานกับนางสาวอ้อพอ คำ ลูกสาวคนที่ ๒ ของนายเซอ คำ จึงเพิ่มเป็น ๕ ครอบครัว
ข้อมูลทั่วไป
ปัจจุบันบ้ายห้วยผาเยือง เป็นหมู่บ้านหนึ่งในหมู่ ๗ บ้านห้วยหินลาด ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย มีนายวะ คำอือ เป็นผู้นำหมู่บ้าน (ฮี่โข่) และผู้นำทางศาสนา ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๓ ขึ้นเป็นหมู่บ้านห้วยผาเยือง มี ๖ เลขที่บ้าน ๘ ครอบครัว ประชากรทั้งหมด ๓๔ คน เป็นชาย ๒๐คน เป็นหญิง ๑๔ คน ประชากรมีอาชีพหลักทำการเกษตรได้แก่ ทำไร่ ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกข้าว พืชผักสำหรับบริโภค และปลูกชาเพื่อขาย ทำนา ๓ ครอบครัว เลี้ยงวัวทุกครอบครัว อาชีพรองทำการเกษตรผสมผสานในไร่ชา หาของป่าเพื่อบริโภคและขาย เลี้ยงหมู ไก่ เป็ด เพื่อบริโภค และใช้ในพิธีกรรม
พื้นที่ทั้งหมด ๕, ๒๘๕ ไร่ ๙๒ ตารางวา โดยจำแนกเป็น
พื้นที่ป่าชุมชน/ป่าอนุรักษ์ ๔,๖๑๐ ไร่ ๐ งาน ๐ ตารางวา
มีพื้นที่อยู่อาศัย ๕ ไร่ ๐ งาน ๙๒ ตางรางวา
พื้นที่ทำกิน ๒๔๗ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา
พื้นที่ไร่หมุนเวียน ๔๒๒ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา
โครงสร้างคณะกรรมการบ้านห้วยผาเยือง
ชุมชนหมู่บ้านห้วยทรายขาว(ลาหู่)
ประวัติความเป็นมาของชุมชน (ประวัติหมู่บ้าน)
หมู่บ้านห้วยทรายขาว เมื่ออดีตชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจาก บ้านแม่โก๋น หมู่ที่ 3 ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ รับจ้างเป็นคนงานปลูกป่าให้กับหน่วยจัดการต้นน้ำพร้าว เมื่อปีพ.ศ.2526 โดยอพยพมาประมาณ 5 ครอบครัวมีจำนวนประชากรประมาณ 20 คน แต่รายได้ยังไม่พอเลี้ยงครอบครัว ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้ก็ได้ให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ไปอาศัยทำบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งห่างไกลจากที่ทำงาน 12 กิโลเมตร ให้ชื่อหมู่บ้านว่า“หมู่บ้านแม่ฉางขาว”ในปี พ.ศ.2532 โดยมีอาชีพรับจ้างปลูกป่าและทำไร่ไปด้วยโดยอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และต่อมาทางหมู่บ้านเห็นว่าชาวบ้านเองมีความต้องการที่จะมีหน่วยงานทางราชการมาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้จึงแนะนำให้ หน่วยงานทางการศึกษามาเปิดศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาเป็นของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนในปี พ.ศ.2535 มีการให้ความรู้กับชาวบ้านในทุกด้านและชาวบ้านก็เริ่มมีความพัฒนาหมู่บ้าน และต่อมาก็มีผู้สอนศาสนาเข้ามาเผยแพร่ศาสนา เป็นศาสนาคริสต์ จากนั้นชาวบ้านก็มีการนับถือศาสนาคริสต์เป็นต้นมา และมีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “หมู่บ้านห้วยทรายขาว” เมื่อมีผู้นำหมู่บ้านท้องถิ่นก็เริ่มมีประชากรจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ชาวบ้านเองก็มีอาชีพที่ยังไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว ครูการศึกษานอกโรงเรียนจึงเป็นผู้ประสานติดต่อหน่วยงานการเกษตรที่ศูนย์แม่ปูนหลวงมาให้ความรู้ด้านอาชีพเสริมเพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมีการปลูกผักเป็นอาชีพเริ่ม 1 ครอบครัว ซึ่งชาวบ้านครอบครัวนี้ต้องมีการประสานกับหน่วยงานเกษตรที่ศูนย์แม่ปูนหลวง ตลอดทางด้านความรู้อาชีพ แต่ด้วยระยะทางระหว่างหมู่บ้านกับหน่วยงานนั้นมีความห่างไกลกันถึงประมาณ 20 กิโลเมตร จึงทำให้การคมนาคมเกิดความยากลำบาก จึงมีการแนะนำให้ชาวบ้านอยู่ในความดูแลของมูลนิธิโครงการหลวงแม่ปูนหลวงซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านเข้ามาอีกเพื่อความสะดวกในการดูแลชาวบ้าน แต่ชาวบ้านยังไม่ได้เป็นสมาชิก มีก็เพียงแต่ครอบครัวกลุ่มทดลองเท่านั้น ต่อมาผลผลิตทางการเกษตรที่ทางเจ้าหน้าที่โครงการหลวงส่งเสริม ได้ผลผลิตที่ส่งผลให้มีรายได้ดี อาชีพมั่นคง ชาวบ้านจึงเลิกอาชีพเป็นคนงานรับจ้างปลูกป่ามายึดการปลูกผักเป็นอาชีพหลักและมีการเข้าสมัครเป็นสมาชิกมูลนิธิโครงการหลวงเพิ่มมากขึ้น มาจนถึงปัจจุบันนี้
รายชื่อคณะกรรมการในชุมชนบ้านห้วยทรายขาว
1. นายจำลอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
2.นายดำริ จะแล คณะกรรมการ
3.นายขวัญเกษม แซ่ลี้ คณะกรรมการ
4.นายพิบูลย์ ภัทรเสถียรชัย คณะกรรมการ
5.นายปะหา จะไซ คณะกรรมการ
6.นายจะสือ จะโจ คณะกรรมการ
7.นายจะกอ จะก๋า คณะกรรมการ
8.นายจะลอ จองหล้า คณะกรรมการ
9.นายแสนโบ ลอฮ่อ คณะกรรมการ
10.นายจะแฮ นอหล้า คณะกรรมการ
11.นายสุข เกษตรดำรง ที่ปรึกษาคณะกรรมการ
12.นายจะอื่อ จะก๋า ที่ปรึกษาคระกรรมการ
13.นายจะโบ ศรีพู ที่ปรึกษาคณะกรรมการ
14.นายจะเย จะฟู ที่ปรึกษาคณะกรรมการ
15.นายเดวิทชัย จองหล้า ที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านศาสนา
16.นายจะหา จองหล้า ที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านศาสนา
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง
ชื่อหมู่บ้าน ห้วยทรายขาว ( เป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านหลักที่ชื่อ บ้านห้วยหินลาด ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
เนื้อที่ทั้งหมด
- โดยประมาณทั้งหมู่บ้าน 12 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ เขตชุมชนบ้านห้วยหินลาดในหมู่ที่7 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดกับ เขตชุมชนบ้านแม่ทรายขาวหมู่ที่10 ตำบลแม่แวน อำเภอ พร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดกับ เขตชุมชนบ้านห้วยหินลาดในหมู่ที่7 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ เขตชุมชนบ้านขุนแจ๋หมู่ที่8 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะภูมิประเทศ ตั้งอยู่กลางหุบเขาสูง ความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำ ห้วยทรายขาว แหล่งน้ำในพื้นที่ น้ำห้วยทรายขาว ภูมิอากาศ หนาวเย็นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 15 องศา
มีประชากร ทั้งหมด 139 คน เพศชาย 70 คน เพศหญิง 69 คนจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 30 ครัวเรือน
องค์กรในชุมชน ได้แก่
1.สถานศึกษา โรงเรียน 1 แห่งได้แก่ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง ”
บ้านห้วยทรายขาว สังกัด กศน. อำเภอเวียงป่าเป้า
2. โบสถ์...1...โบสถ์ ได้แก่ โบสถ์คริสต์บ้านห้วยทรายขาว
3. หน่วยงานบริการของราชการ ..1.. แห่ง ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง
4. สถานีวิทยุ/หอกระจายข่าว ..1.แห่ง
5 ศาลากลางหมู่บ้าน 1 แห่ง
2.6 การบริการพื้นฐาน
1. การคมนาคม ( ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า ถึงหมู่บ้าน )
- ถนนลาดยาง .........27..........กม.
- ถนน คสล. (ระยะทางเข้าหมู่บ้าน ) 6........ กม.
2. การโทรคมนาคม
ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
3. การไฟฟ้า ( โซล่าโฮม )
-ครัวเรือนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์......20......... ครัวเรือน
4. แหล่งน้ำ
- ลำน้ำ,ลำห้วย ..........1....... สาย
- ฝาย .........-.......... แห่ง
- ประปาภูเขา ........1......... แห่ง
2.7. ทรัพยากรธรรมชาติ / แหล่งท่องเที่ยว
1.ป่าไม้ธรรมชาติ
2. น้ำตกห้วยทรายขาว
3. เส้นทางเดินป่าธรรมชาติ
4. สวนผักเมืองหนาว ศักยภาพของหมู่บ้าน
1. การประกอบอาชีพ
อาชีพ | จำนวน (ครัวเรือน) | ร้อยละ |
1. อาชีพรับจ้าง | 3 | 10.71% |
2. อาชีพเกษตรกร - ทำนา - ทำสวน - เลี้ยงสัตว์ | 3 25 1 | 10.71% 89.29% 3.57% |
2. ผู้มีความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านต่างๆในชุมชน
ด้านแพทย์แผนไทย/สมุนไพรไทย/หมอพื้นบ้าน ได้แก่
นายจะสือ จะทอ รายละเอียด หมอสมุนไพรพื้นบ้าน
ด้านผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่
1. นางโหลง จองหล้า รายละเอียด เป่าแคน, เต้นจะคึ
2. นายจะหา จองหล้า รายละเอียด เป่าแคน, เต้นจะคึ
3. นายเดวิชัย จองหล้า รายละเอียด เป่าแคน, เต้นจะคึ
4. นางยุวธิดา มีโหลง รายละเอียด เป่าแคน, เต้นจะคึ,ตีกลอง
5. นายภูมิพัฒน์ เมธาพรสกุล รายละเอียด เป่าแคน, เต้นจะคึ, ตีกลอง
ด้านงานฝีมือต่างๆ เช่นช่างไม้ ช่างปั้น ช่างแกะ หัตถกรรม/จักรสาน ทอผ้า ได้แก่
นายสุข เกษตรดำรง รายละเอียด จักสาน
นางสุภาภรณ์ เกษตรดำรง รายละเอียด ทอผ้า
นางนาอู มีโหลง รายละเอียด ทอผ้า
4. นางนามิแอ จองหล้า รายละเอียด ทอผ้า
ด้านการเกษตร เช่น การเพาะปลูก ขยายพันธ์ การปรับใช้เทคโนโลยี ได้แก่
นายสุข เกษตรดำรง รายละเอียด เกษตรกรรม ( การปลูกผัก )
นายจะหา จองหล้า รายละเอียด เกษตรกรรม ( การปลูกผัก )
นายดำริ จะแล รายละเอียด เกษตรกรรม ( การปลูกผัก )
ด้านการถนอมอาหาร/การจัดทำอาหาร ได้แก่
1. นางสุภาภรณ์ เกษตรดำรง รายละเอียด การทำอาหาร,การถนอมอาหาร
2. นายเดวิชัย จองหล้า รายละเอียด การถนอมอาหาร(ทำดองบ๊วย)
ด้านพิธีกรรมทางศาสนา/ขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่
1. นายจะหา จองหล้า รายละเอียด อาจารย์สอนศาสนาในชุมชน
2. นายเดวิชัย จองหล้า รายละเอียด อาจารย์เผยแพร่ศาสนานอกชุมชน
3. กลุ่มในชุมชน
- กลุ่มกองทุนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สมาชิก 28 คน
- กลุ่มแม่บ้าน สมาชิก 28 คน
- กลุ่มกองทุนเมล็ดพันธ์ผัก สมาชิก 28 คน
- กลุ่มกองทุนยา สมาชิก 28 คน -
กลุ่มสหกรณ์ สมาชิก 28 คน
- กลุ่มกองทุนธนาคารข้าว สมาชิก 28 คน
- กลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน สมาชิก 19 คน
4. เศรษฐกิจชุมชน
1. รายได้ ทั้งชุมชน
ทำสวน(ผักส่งโครงการหลวง) 1,000,000 บาท/ปี
เลี้ยงสัตว์ 20,000 บาท/ปี
รับจ้าง 20,000 บาท/ปี
2. หนี้สิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ......-..... บาท/ปี
สหกรณ์ ...100,000...-..... บาท/ปี
กลุ่มองค์กร ......-..... บาท/ปี
หนี้นอกระบบ/นายทุน 20,000 บาท/ปี
กองทุนเงินล้าน ..200,000............ บาท/ปี
กำหนดจุดเด่นหรือจุดแข็งของชุมชน (หรือถึงสิ่งที่มีและเห็นว่าเด่นในชุมชนทั้งด้านบุคคล, กลุ่มสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา,วัฒนธรรมประเพณี,และสิ่งอื่นๆ เป็นปัจจัยภายในชุมชนเอง)
1) จุดเด่นด้านบุคคล (ทุนด้านทรัพยากรบุคคล)
ที่ | ชื่อ-สกุล | อายุ | บ้านเลขที่ | โทรศัพท์ | ลักษณะเด่น |
1 | นายจำลอง จองหล้า | ผู้นำชุมชน | |||
2 | นายเดวิชัย จองหล้า | 48 | 42 | 0800346741 | ประเพณีวัฒนธรรม, อาจารย์สอนศาสนา |
3 | นายจะหา จองหล้า | 44 | 44/2 | 0899541250 | อาจารย์สอนศาสนา |
4 | นายดำริ จะแล | 31 | 64 | - | เกษตรกรรม |
5 | นายจะสือ จะทอ | 73 | 69 | - | หมอสมุนไพร/หมอพื้นบ้าน |
6 | นางโหล จองหล้า | 67 | 44 | - | หัตถกรรมทอผ้า,ประเพณีวัฒนธรรม |
7 | นางสุภาภรณ์ เกษตรดำรง | 42 | 43 | 0857055239 | หัตถกรรมทอผ้า,การทำอาหาร |
8 | นางนาอู มีโหลง | 31 | 65 | 0857239343 | หัตถกรรมทอผ้า |
9 | นางนามิแฮ จองหล้า | 43 | 42 | 0800346741 | หัตถกรรมทอผ้า |
จุดเด่นด้านทรัพยากรธรรมชาติ (ทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติของหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น แหล่งน้ำ/ป่า/สถานที่ท่องเที่ยง สาธารณะและการใช้ประโยชน์
ชื่อแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ | ลักษณะการใช้ประโยชน์ | หมายเหตุ |
1. น้ำตกห้วยทรายขาว | พักผ่อน | สถานที่ท่องเที่ยว |
2. เส้นทางเดินป่าธรรมชาติ | ชมธรรมชาติ | อนุรักษ์ป่าไม้ |
3. สวนผักเมืองหนาวของชาวบ้าน | แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน | รายได้เกษตรกร |
จุดเด่นด้านภูมิปัญญาชุมชน
ประเภท | ชื่อ-สกุล และที่อยู่ของเจ้าของภูมิปัญญา | ประโยชน์ต่อชุมชนในด้านใด |
หมอสมุนไพร/หมอพื้นบ้าน | นายจะสือ จะทอ | เป็นขวัญและกำลังใจของชุมชน |
จักสาน | นายสุข เกษตรดำรง | เป็นภูมิปัญญาทองถิ่น |
อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ | นายสุข เกษตรดำรง | เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ |
หัตถกรรมทอผ้า | นางโหล จองหล้า นางสุภาภรณ์ เกษตรดำรง นางนาอู มีโหลง นางนามิแฮ จองหล้า | เป็นภูมิปัญญาทองถิ่น |
อาจารย์สอนศาสนา | นายเดวิชัย จองหล้า นายจะหา จองหล้า | เป็นขวัญและกำลังใจของชุมชน |
จุดเด่นด้านประเพณี/วัฒนธรรม/กฎระเบียบ/คานิยมและความสัมพันธ์ของชุมชน
(เป็นลักษณะของพื้นที่หล่อหลอมจากประสบการณ์ของรุ่นสูรุ่น เป็นสำนึกร่วมของคนในชุมชนที่สร้างขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลชุมชนให้ดำเนินชีวิตไปตามระบบคุณค่าแนวคิดของชุมชนนั้นๆ เป็นกฎของหมู่บ้าน)
ประเพณี/กิจกรรม | วัตถุประสงค์ |
ประเพณีปีใหม่ชนเผ่า ( การกินวอ ) | สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า |
ประเพณีการกินข้าวใหม่ | สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า |
ลงแขกเก็บเกี่ยวพืชผักต่างๆ | ความสามัคคีในชุมชน |
จัดกิจกรรมงานคริสต์มาส | เพื่อยึดถือศาสนาเป็นที่พึ่งเพื่อเป็นคนดีของสังคม |
จุดอ่อนของชุมชน (บอกลักษณะจุดอ่อนหรือจุดด้อยของชุมชนด้านต่างๆ เป็นปัจจัยภายในชุมชน)
เรื่องที่เป็นจุดอ่อน | มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร | ควรจะทำอย่างไร |
- ไม่มีไฟฟ้าใช้ -หมู่บ้าน | - ขาดความร่วมมือด้านการ พัฒนางานทำให้การพัฒนา ล่าช้า | - มีกฎระเบียบของชุมชน ที่ชัดเจน -มีการประชุมทุกเดือน (เดือนละ1ครั้ง) |
โอกาสของชุมชน (เป็นปัจจัยภายนอกชุมชนที่จะส่งเสริมและสร้างโอกาสให้ชุมชนได้สามารถพัฒนาได้)
เรื่องที่เป็นโอกาส | มีผลต่อชุมชนอย่างไร | ชุมชนควรจะสร้างโอกาสอย่างไร |
มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ | สามารถทำการเกษตรได้ทุกฤดูกาล -เป็นแหล่งอาหารคนในชุมชน | วางแผนการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดทำขอบเขตพื้นที่ป่าและพื้นทีทำกินให้ชัดเจน -มีกฎระเบียบการใช้ป่า |
เป็นหมู่บ้านรับผิดชอบของโครงการหลวง | -ชาวบ้านมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ตลอดปี | -มีการประกอบอาชีพที่สุจริต -ช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ -มีความสามัคคี มีส่วนร่มในการพัฒนา |
ข้อจำกัดของชุมชน (เป็นปัจจัยภายนอกและเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้การพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนไม่บรรลุเป้าหมาย)
ข้อจำกัด | มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร | จะแก้ไขข้อจำกัดอย่างไร |
1.เป็นหมู่บ้านบริวาร | งบประมาณไม่เพียงพอในการพัฒนาฯในชุมชน | -แยกหมู่บ้าน - |
วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน
1. วิสัยทัศน์
หมู่บ้านพิทักษ์ป่า อนุรักษ์ประเพณี หลีกหนีอบายมุข เรียนรู้การมีส่วนร่วม เตรียมความพร้อมสู่ชุมชนเข้มแข็ง
2. พันธกิจ
1. สนับสนุนการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ และธรรมชาติ
2. พัฒนาปรับภูมิทัศน์ในชุมชนมุ่งสู่ หมู่บ้านสะอาด
3. มุ่งเน้นงานส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
4. ต่อต้านและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในชุมชน
5. ชุมชนเกิดการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น
3. เป้าหมาย
1.พัฒนาคุณภาพชีวิต การกินดี อยู่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
2.ส่งเสริมการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่า
3. สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรู้จักการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี
4. ส่งเสริมพัฒนาสู่ชุมชนปลอดสารเสพติด มุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง
5.ส่งเสริมพัฒนาประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
6.เป็นชุมชนตัวอย่างด้านการดูแลรักษา ทรัพยากรป่าไม้ ให้กับหมู่บ้านใกล้เคียง
3. แนวทางการพัฒนา
1.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชน มุ่มเน้นการกระจายอำนาจสู่สมาชิกในชุมชน
2.ส่งเสริมและอนุรักษ์ ศิลปวัฒธรรมของชุนเผ่า
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมการ ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้ของชุมชน
5. พัฒนาชุมชนสู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงในอนาคต
6. พัฒนาชุมชนสู่บ้านปลอดยาเสพติด
7.ส่งเสริมสนับสนุนการจัดชุมชน เป็นหมู่บ้านสะอาด น่าอยู่ปลอดมลพิษ
8.พัฒนาชุมชนสู่การท่องเที่ยว ด้านวัฒธรรมประเพณี และ ทรัพยากรธรรมชาติ
9. ส่งเสริมด้านรู้หนังสือให้กับสมาชิกทุกคนในชุมชน
ว่าด้วยกฎระเบียบของชุมชน บ้านห้วยทรายขาว ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ปี พุทธศักราช 2556
เพื่อให้การจัดการบริหารชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดความสงบสุข ชุมชนบ้านห้วยทรายขาว จึงได้กำหนดกฎระเบียบชุมชนเพื่อ ถือปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด โดยมีดังต่อไปนี้
ด้านยาเสพติดและการพนัน
ห้ามบุคคลภายนอก และ ภายในชุมชนจำหน่าย และเสพยาเสพติดทุกประเภท
ห้ามบุคคลภายในชุมชนบ้านห้วยทราย จ้างแรงงานผู้ที่ติดยาเสพติดโดยเด็ดขาด
ห้ามเล่นการพนันในชุมชนบ้านห้วยทรายขาวโดยเด็ดขาด
ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ /พื้นที่ทำกิน
ห้ามบุคคลภายนอก/ภายในชุมชนบ้านห้วยทรายบุกรุกพื้นที่ป่าโดยเด็ดขาด ให้ทำกินในขอบเขตพื้นที่ทำกินของตนเองเท่านั้น
ห้ามใช้สารเคมีใกล้บริเวณแหล่งน้ำของชุมชนโดยเด็ดขาด
ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามา ล่าสัตว์และหาของป่าในพื้นที่ของชุมชน
ห้ามบุคคลภายในชุมชนบ้านห้วยทรายขาว ขายที่ดินให้กับบุคคลภายนอกชุมชน โดยเด็ดขาด
ห้ามบุคคลภายในชุมชนบ้านห้วยทรายขาว ขายสิ่งปลูกสร้างให้กับบุคคลภายนอกชุมชน และ ขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกนอกชุมชนโดยเด็ดขาด
การหาของป่า เช่น หน่อไม้ น้ำผึ้ง ใบกล้วย ปลีกล้วย หาปลา และ สัตว์ป่าทุกชนิด ให้สมาชิกของชุมชนบ้านห้วยทรายขาว ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบของชุมชนที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
ห้ามทิ้งขยะในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านห้วยทรายขาว
การเผาพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง ให้ทำแนวกันไฟ หากไหม้ลุกลามไปพื้นที่ผู้อื่นหรือพื้นที่ป่าให้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย และ ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ทั้งนี้หากฝ่าฝืนชุมชนบ้านห้วยทรายขาวจะดำเนินการตามกฎระเบียบของชุมชน และส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
บ้านห้วยทรายขาว
ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
กฎระเบียบข้อบังคับชุมชนบ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ ๗ ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการชุมชน
หมายเหตุ
กฎระเบียบข้อบังคับชุมชนบ้านห้วยหินลาด ฉบับนี้ได้แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมโดยคณะกรรมการชุมชน เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ.ศาลาเอนกประสงค์บ้านห้วยหินลาดใน เนื่องจากกฎระเบียบข้อบังคับเดิมได้มีการร่างไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และมีการปรับปรุง เพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และ ๑๐ พ.ค. ๕๔ ปฏิบัติมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ทางคณะกรรมการชุมชนได้วิเคราะห์กฎระเบียบข้อบังคับชุมชนร่างเดิมโดยเห็นว่าหลายข้อที่ยังต้องปรับปรุงเพิ่มเติมและในหลายกรณีซึ่งชุมชนได้ปฏิบัติอยู่แล้วแต่ไม่ได้ระบุไว้ในกฎระเบียบข้อบังคับชุมชนรวมทั้งบทลงโทษต่างๆที่ยังไม่ชัดเจน จึงมีการประชาคมปรับปรุงเพิ่มเติมครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓
กฎระเบียบข้อบังคับชุมชนบ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ ๗ ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการชุมชน
หมวดการจัดการป่าชุมชน/อนุรักษ์
หลักการร่วมการจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า สัตว์น้ำ ในชุมชน
ทรัพยากรรอบๆชุมชนหรือป่าชุมชนตามแนวขอบเขตรับผิดชอบของชุมชน ต้องมีการจัดการควบคุมดูแลและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนโดยมีกฎระเบียบร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร ที่เห็นชอบร่วมกันในชุมชน(ตามอำนาจในรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย)
ชุมชนจะต้องเลือกตัวแทนชุมชน เป็นคณะกรรมการชุมชนขึ้นมาหนึ่งชุดเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการชุมชนและบังคับใช้กฎระเบียบชุมชนให้เป็นไปเจตนาของชุมชน
ชุมชนจะต้องมีแผนงานกิจกรรมร่วมกันในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน
ชุมชนจะต้องแสดงอนาเขตรับผิดชอบที่ชัดเจน โดยการรางวัดค่าพิกัด จีพีเอส และแสดงในแผนที่โมเดลหรือแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ๑-๔๐๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
ชุมชนจะต้องจำแนกพื้นที่ในการอนุรักษ์ให้ชัดเจน
กฎข้อที่ ๑. ระเบียบในการใช้ประโยชน์ ประเภทไม้ทุกชนิดในเขตป่าชุมชน
ไม้ในป่าชุมชนหมายถึง ต้นไม้ที่ยืนต้นทุกชนิด และ ไม้ไผ่ทุกชนิด ที่มีสภาพเป็นป่าอยู่ในเขตป่าชุมชนของหมู่บ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ ๗
ระเบียบที่บังคับใช้ สำหรับในชุมชน
-ห้ามตัดไม้ทุกชนิดในเขตป่าชุมชน เว้นแต่ที่มีการระบุไว้ในข้อยกเว้น
ข้อยกเว้น
๑. กรณีไม้ที่เสี่ยงต่อความเสียหาย กับชุมชนและสาธารณะ เขตหมู่บ้าน,เขตโรงเรียน,เขตวัด,เขต ถนน,เขตสายไฟฟ้า กรณีอื่นๆ (ให้ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการชุมชน)
๒. กรณีนำมาใช้ประโยชน์หรือใช้สอยในครัวเรือน
- ไม้ที่แห้งแล้ว
- ไม้ดิบที่ล้มเองแล้ว
- ไม้ที่เสื่อมสภาพแล้ว
- ประเภทไม้ที่มีอายุสั้นหรือไม้เนื้ออ่อน
- ไม้ก่อบางชนิดที่ไม่มั่งคง
๓. กรณีไม้ที่นำมาสร้างบ้าน และใช้ประโยชน์กับสาธารณะ
- ไม้ในสวน หรือ ไม้สงวนไว้ส่วนบุคคล
- ไม้ที่มีความหนาแน่นมาก หรือไม้ที่ไม่มีความเสียหายต่อพื้นที่มากเกินไป
- สามารถใช้เครื่องมือในการแปรรูปได้เฉพาะ เลื่อยมือเท่านั้น
กรณีระเบียบข้อบังคับการใช้ไม้ไผ่
- ห้ามขายไม้ไผ่ที่เป็น เล่ม,ลำ
๑. กรณีหน่อไม้ ทุกชนิดสามารถขายได้ในแต่ละปีตามฤดูกาล ไม่เกิน ๑ เดือนครึ่ง ในช่วงแรกที่หน่ออก หรือ ไม่เกิน ๔๕ วัน และ สามารถบริโภคได้ตลอดปี
๒. กรณีไม้ไผ่แก่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี ตามความเหมาะสม
๓.กรณีการขายไม้ไผ่
- สามารถนำไปขายได้เฉพาะที่แปรรูปแล้ว หรือไม้ไผ่ที่ปลูกไว้เองในสวน
ระเบียบบังคับใช้กับบุคคลภายนอก
- ห้ามตัดไม้ทุกชนิดในเขตป่าชุมชน เว้นแต่ มีการระบุไว้ในข้อยกเว้น
ข้อยกเว้น
๑. เขตถนนหลวงและเขตสายไฟฟ้า
๒. กรณีไม้สน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ครั้งละไม่เกิน ๓ กิโลกรัมต่อคน
๓. กรณีเศษไม้ ,ใบไม้,กิ่งไม้แห้ง และหญ้า สามารถนำไปใช้ประโยชนได้
๔. กรณีเมล็ดพันธ์เพื่อเอาไปปลูก สามารถนำเมล็ดพันธ์ไม้ต่างๆไปปลูกได้
๕. กรณีพันธ์ไม้ สามารถนำไปปลูกได้ชนิดละไม่เกิน 5 ต้น ในความสูงของไม้ไม่เกิน ๑ เมตร ใหญ่ไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร
๖. กรณีไม้ไผ่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ครั้งละไม่เกิน ๓ ลำ ต่อคน/ครั้ง
๗. กรณีไม้ไผ่แห้งแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยแจ้งกับคณะกรรมการชุมชน
๘. กรณีหน่อไม้ทุกชนิด สามารถนำไปบริโภคได้ครั้งละไม่เกิน ๕ กิโลกรัม
บทลงโทษในการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับข้อที่ ๑
- สำหรับภายในชุมชน ตัดต้นไม้ในเขตหวงห้าม ปรับเป็นเงิน ๕๐๐-๑,๐๐๐ บาทหรือปลูกทดแทนไม้ ๑ใน ๑๐ ต้น
- สำหรับบุคคลภายนอก ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับ ปรับเป็นเงิน ๕,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ บาท ยึดของกลาง ทำลายอุปกรณ์ และส่งดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
กฎข้อที่ ๒ ระเบียบการหาของป่าในเขตป่าชุมชน
ของป่าหมายถึง
ไม้ดอกไม้ประดับ (กล้วยไม้ทุกชนิด,เฟิร์นทุกชนิด)พืชผักและผลไม้ (ผักกูด,มะเขือพวง,ว่าน,ดอกลิงลาว,กล้วยป่า,ค้างคาวดำ,ดอกตั้ง,ข่า, กระชาย,มะขม,มะขามป้อม,ต้นค้อ,ต้นเต๋า ,มะคำดีควาย)
เห็ดทุกชนิด สมุนไพรทุกชนิด ผึ้งและต่อทุกชนิด ครั่ง
ห้ามขายของป่าทุกชนิดออกนอกชุมชน(สำหรับภายใน) เว้นแต่มีการระบุไว้ในข้อยกเว้น
ข้อยกเว้น
- สามารถนำมาบริโภคและใช้ประโยชน์ได้ทุกชนิด ตามความเหมาะสมตามปริมาณ
-นำมาแปรรูปขายบางชนิด (เช่นใบค้อ,น้ำผึ้ง,หวาย,ลูกชิด,กล้วยป่า, มะขามป้อม,มะไฟ,สมุนไพร เห็ด,จะค่าง,มะขม,มะคำดีควาย)
ห้ามเข้ามาหาของป่าทุกชนิดในเขตป่าชุมชน(สำหรับคนภายนอก) เว้นแต่มีการระบุไว้ในข้อยกเว้น
ข้อยกเว้น
- เอาไปบริโภคตามความเหมาะสมในบางชนิด เช่น เห็ด,ผักกูด,มะก่อ, มะขามป้อม,มะไฟ, และอื่นๆที่ได้อนุญาตจากคณะกรรมการชุมชน
บทลงโทษในการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎข้อที่ ๒
- ฝ่าฝืนปรับตั้งแต่ ๕๐๐-๑,๐๐๐ บาท คณะกรรมการจะพิจารณาตามความเหมาะสม และยึด ของกลางไว้ทุกกรณี
กฎข้อที่ 3 ห้ามนำเลื่อยยนต์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ในชุมชน บทลงโทษ ทั้งภายนอกและภายใน
-ยึดและทำลายของกลางโดยให้หมดสภาพการใช้งาน
กฎข้อที่ ๔ ระเบียบการจัดการไฟการใช้ประโยชน์ในการเผา
- ห้ามเผาป่าโดยเด็ดขาด เว้นแต่การระบุไว้ในข้อยกเว้นเท่านั้น
ข้อยกเว้น
- กรณีพื้นที่ล่อแหลม หรือ จำเป็นที่ต้องเผา ให้ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการชุมชน
- กรณีพื้นที่ทำการเกษตรและไร่หมุนเวียน ให้ทำแนวกันไฟก่อนเผาทุกครั้ง
บทลงโทษในการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎที่ ๔
- เผาป่าปรับตั้งแต่ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท และรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
กฎข้อที่ ๕ ระเบียบในการอนุรักษ์สัตว์ป่า (สัตว์บก – สัตว์น้ำ )
- ข้อห้าม ห้ามจับสัตว์ป่าโดยใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม เช่น ดักกาว , ตาข่าย , ยาเบื่อ
- กรณีสัตว์ป่าทุกชนิดในเขตป่าชุมชนรัศมีจากชุมชน 1 กิโลเมตรเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า
ข้อยกเว้น
- สัตว์ที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง ดังนี้ งูมีพิษทุกชนิด , แมวป่า , นกเหยี่ยว , หมาป่า
สัตว์ป่าในความเชื่อและได้รับการคุ้มครองพิเศษโดยห้ามฆ่าหรือนำเข้ามาในชุมชนดังนี้
(๑) ไก่ฟ้าหลังขาว (๒) นกพญาไฟ (๓) นกแซงแซวทุกชนิด (๔)นกกาน้ำ (๕)นกกาเขน้ำ
(๖)นกป่ากระรอก (๙) นกแก้ว (๘)นกยุง (๙)นกกระทาดง (๑๐)นกขมิ้น (๑๑)นกตะขาบทุ่ง
(๑๒)นกพิราบ (๑๓)ชะนี (๑๔)หมี (๑๕)ลิง (๑๖)เม่น (๑๗)ตัวนิ่ม (๑๘)นางอาย (๑๙)เห็น หมี
(๒๐)บ่างหลวง (๒๑)งูเหลือม
กรณีสัตว์น้ำ
- ต้องมีแหล่งสำหรับขยายพันธ์ หรือ เขตอุรักษ์สัตว์น้ำ
สัตว์น้ำคุ้มครองพิเศษ ดังนี้ กบจุก , กบผา , ตะพาบน้ำ
ข้อห้าม – ห้ามจับสัตว์น้ำโดยวิธีฟ้าช๊อต , ใช้ยาเบือ , เครือไหล , หรือ ปิดกั้นแม่น้ำ
บทลงโทษในการฝ่าฝืน กฎข้อที่ ๕
- ยึดของกลาง และปรับเป็นเงินตั้งแต่ ๕๐๐-๕๐,๐๐๐ บาท ตามจำนวนสัตว์ป่าแต่ละชนิด
กฎข้อที่ ๖ ห้ามทิ้งขยะในเขตป่าต้นน้ำและป่าชุมชน
บทลงโทษในการฝ่าฝืน กฎข้อที่ ๖
ปรับเป็นเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ ตามปริมาณของขยะ และรับผิดชอบ
หมวดการจัดการที่ดิน
หลักการร่วม
๑. ที่ดินทุกแปลงต้องจัดการในรูปแบบสิทธิหน้าหมู่
๒. ที่ดินทุกแปลงต้องเป็นพื้นที่ทำกินเดิมและต้องใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
๓. ที่ดินทุกแปลงต้องมีการสำรวจไว้ในแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ปี ๒๕๔๕ และ ปักหลักหมุดตามมุมทุกแปลง
๔. ที่ดินทุกแปลงต้องถูกรับรองและควบคุมของคณะกรรมการชุมชน
กฎระเบียบด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกิน
ข้อที่ ๑. งดเว้นการใช้สารเคมีในพื้นที่ไร่หมุนเวียน ในกรณีพื้นที่ทำกินอื่นๆให้หลีกเลี่ยง
หรือใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ตามความจำเป็นภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการชุมชน
ข้อที่ ๒. ห้ามนำเครื่องจักรหรือรถไถ พลิกหน้าดินในที่ลาดชัน โดยเฉพาะพื้นที่ไร่ถาวรสามารถไถ
ได้ในความลาดชันไม่เกิน ๓๕ องศาหรือสามารถไถได้ในพื้นที่ส่วนบุคคลที่ไม่กระทบต่อ
ผู้อื่นและสาธารณะ กรณีไร่หมุนเวียนและพื้นที่ทำกินในเขตต้นน้ำห้ามพลิกหน้าดินหรือไถ
ข้อที่ ๓. การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินรูปแบบการผลิตต้องผ่านความเห็นชอบในที่ประชุมของ
หมู่บ้าน
บทลงโทษในการฝ่าฝืนกฎข้อที่ ๓. กรณีไร่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงเป็นไร่ถาวรโดยไม่ผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการชุมชน จะดำเนินการยึดพื้นที่คืนทันที
ข้อที่ ๔. การทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนและนาข้าวให้เน้นพันธ์พืชท้องถิ่นดั้งเดิมเป็นหลัก
ข้อที่ ๕. พื้นที่ไร่เหล่าสามารถใช้ประโยชน์ได้เมื่อครบรอบหมุนเวียน ๑ ปี ต่อ ๑ รอบ (ในรอบ
หมุนเวียนกำหนดไว้ ๕-๑๐ ปี)
ข้อที่ ๖. ห้ามขยายพื้นที่ทำกินเดิมหรือบุกเบิกใหม่ ออกนอกขอบเขตตามที่ได้สำรวจไว้ในแผนที่
ภาพถ่ายทางอากาศ ปี ๒๕๔๕
บทลงโทษในการฝ่าฝืนกฎข้อที่ ๖
๑. กรณีบุกเบิกพื้นที่ใหม่ ต้องยึดคืนทันที
๒. บุกคนภายนอกเข้ามาบุกรุก ต้องยึดคืนทันที ปรับเป็นเงินไร่ละ 50,000 บาท และส่ง
ดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
๓. กรณีการขยายพื้นที่เพิ่มใหม่ ต้องยึดในส่วนที่ขยายคืนทันที
๔. กรณีมีการขยายที่ก่อนการสำรวจให้เปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่ไม้ยืนต้น
ด้านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน
๑. ต้องมีกฎระเบียบในการจัดการที่ดินเป็นลายลักษณ์อักษรที่สมาชิกเห็นร่วมกัน
๒. ที่ดินสามารถตกทอดเป็นมรดกแก่ลูกหลานได้ โดยต้องแจ้งกับคณะกรรมการชุมชนเมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดิน
๓. การเปลี่ยนมือหรือการขายสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินต้องผ่านกองทุนธนาคารที่ดินเท่านั้น
และผู้ที่จะได้รับมอบสิทธิจากชุมชนต้องเป็นสมาชิกในชุมชนเท่านั้น
ราคาในการขายที่ดิน กรณีไร่ถาวรจัดซื้อในราคาไร่ละ5,000 บาทจะต้องหักเข้ากองทุนกลาง 10%
๔. ห้ามมิให้บุคคลภายนอกเช่าหรือใช้ประโยชน์ที่ดินในชุมชน
๕. ให้แต่ละชุมชนมีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบควบคุมและบริหาร
จัดการที่ดินให้เป็นไปตามกฎระเบียบและข้อตกลงของชุมชน
๖. ให้มีการสำรวจข้อมูลรายแปลงและจัดทำขอบเขตที่ดินทำกินลงในแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
ปีพ.ศ.๒๕๔๕ และทำการปักหลักหมุดของพื้นที่เพื่อแสดงแนวเขตของที่ดินทำกิน
๗. การแก้ไขกฎระเบียบให้กระทำได้โดยมติของคณะกรรมการเครือข่าย ๓ชุมชน
หลักการจัดการธนาคารที่ดินชุมชนบ้านห้วยหินลาด
๑.)เก็บออมเงินร่วมกันโดยคิดเป็นเงิน ไร่ละ ๕๐ สตางค์ ต่อเดือน เพื่อใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมภายในชุมชนและเป็นค่าประสานงาน ค่าเดินทาง ค่าอาหารของคณะทำงานในการติดตามนโยบาย
๒.)เก็บออมเงินร่วมกันในส่วนของบ้านหินลาดในและผาเยือง โดยคิดเป็นเงิน คนละ ๑๐ ต่อเดือน
เก็บออมเงินร่วมกันในส่วนบ้านหินลาดนอก โดยคิดเป็นเงิน ครอบครัวละ ๑๐ บาทต่อเดือน
๓.)ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคีอื่น โดยใช้การประชุมร่วมกันในการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเข้ากองทุนธนาคารที่ดิน
๔.)ใช้เงินกองทุนธนาคารที่ดินจัดซื้อที่ดินที่สมาชิกต้องการขายและเปลี่ยนมือภายในชุมชนโดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการชุมชน
พัฒนาการใช้ประโยชน์บนที่ดิน
๑. ลดพื้นที่ไร่ถาวร เพิ่มพื้นที่สวนไม้ยืนต้น
๒. ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ไร่ถาวร เพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ
ด้านสิทธิ
ให้มีการจัดการบริหารที่ดินทุกแปลงในรูปแบบกรรมสิทธิ์ร่วม ส่วนสิทธิการใช้ประโยชน์จะได้รับรองสิทธิภายใต้โฉนดชุมชน
หลักการร่วมการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนบ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ ๗
ชุมชนย่อมมีสิทธิที่จะใช้สิทธิในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กฎระเบียบและข้อบังคับนี้ใช้สำหรับสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยหินลาดทุกคน
สมาชิกในชุมชนทุกคนและบุคลภายนอกที่เข้ามาในชุมชนต้องเคารพและปฏิบัติตาม กฎระเบียบของชุมชน กฎธรรมชาติตามวัฒนธรรมทุกด้านที่มีอยู่ในชุมชน
กฎระเบียบข้อบังคับในชุมชนเข้มแข็งบ้านห้วยหินลาด หมู่ที่ ๗
๑. ห้ามยิงปืนในชุมชน ยกเว้น
-เหตุจำเป็น เช่น ยิงสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อชุมชน
-จันทรุปราคา
๒.ห้ามส่งเสียงดังรบกวน หลังเวลา ๒๑.๓๐น. ยกเว้น
-เทศกาล
-งานประเพณี
-กรณีอื่นๆ ให้ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการชุมชน
๓.ห้ามทะเลาะวิวาทในชุมชนและในเทศกาล ฝ่าฝืน
-ปรับ ๕๐๐ บาท หรือพิจารณาตามความเหมาะสม
๔.ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดประเภทผิดกฎหมายทุกชนิด ทั้งเสพ และจำหน่าย ฝ่าฝืน
-แจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย
-ห้ามจำหน่ายเหล้าและบุหรี่ซองในชุมชน
๕.ห้ามทิ้งขยะลงในแม่น้ำและในชุมชนหรือคนภายนอกไม่ควรนำขยะที่ย่อยสลายยากมาทิ้งไว้ในชุมชน เช่น โฟม เป็นต้น
๖.ให้มีการประชุมชาวบ้านเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
๗.คณะกรรมการและชาวบ้านทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเมื่อในมติของที่ประชุมทุกกรณี
๘.ห้ามลักเล็ก ขโมยน้อยในชุมชน ปรับตามมูลค่าสิ่งของ ๒ เท่าตัว
๙.ห้ามคนต่างด้าวเข้ามาอาศัยหรือตั้งถิ่นฐานในชุมชน
๑๐.บุคคลใดที่แต่งงานกับบุคคลที่เป็นชนเผ่าอื่น จะไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนได้
๑๑.ไม่พูดจาหยาบคายในชุมชนและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
๑๒.ไม่ชู้สาวหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมในชุมชน
๑๓.บุคลภายนอกไม่ควรนำสิ่งเสพติดหรือเหล้าเบียร์มาเสพในชุมชนโดยที่ทางคณะกรรมการชุมชนไม่รับทราบ
๑๔.ให้แต่งกายมิดชิดและสุภาพ กรณีผู้หญิงไม่ใส่กระโปรงสั้นเกินกว่าหัวเข่า
ข้อมูลคณะกรรมการชุมชน
ชื่อคณะกรรมการชุมชน...บ้านห้วยหินลาด (บ้านหินลาดใน/หินลาดนอก/ผาเยือง
(๑)......นายชัยประเสริฐ..โพคะ.....................................ประธานกรรมการ
(๒)......นายชัยธวัช.........จอมติ...................................รองประธานกรรมการ
(๓)......นายดวงดี...........ศิริ.........................................กรรมการ
(๔).......นายปรีชา..........ศิริ......................................กรรมการ
(๕).......นายเฉลิมพล.....เวชกิจ.....................................กรรมการ
(๖)........นายนิเวศน์.......ศิริ......................................กรรมการ
(๗).......นายลอคำ........ปู่แคระ....................................กรรมการ
(๘)........นายปะพา........มิกา.....................................กรรมการ
(๙).........นายตุ่ม..........ปุแคระ....................................กรรมการ
(๑๐).......นายสุวงค์......ไพรวัลย์กุล...............................กรรมการ
(๑๑).......นายคำเซะ.......จอเตะ.................................กรรมการ
(๑๒).......นายเกรียงศักดิ์.....ปะปะ..............................กรรมการ
(๑๓)........นายบุญยศ..........เวชกิจ.............................กรรมการ
(๑๔)........นายกาสี.............ชิโย..................................กรรมการ
(๑๕)........นางสาวผ่องพรรณ.........เวชกิจ....................กรรมการ
(๑๖)........นายจำลอง.........จองหล้า..............................กรรมการ
(๑๗).......นายสุข.............เกษตรดำรง..........................กรรมการ
บทบาทหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ
ควบคุมและกำกับดูแลพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านห้วยหินลาด
ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน/ส.อบต.และคณะกรรมการมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดที่เป็นการละเมิดกฎชุมชน
คณะกรรมการมีอำนาจในการอนุมัติพื้นที่ป่าชุมชนให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ด้วย
คณะกรรมการมีอำนาจปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม กฎระเบียบตามสถานการณ์ได้ตามความเหมาะสม
หลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์
เอกสารอ้างอิง